การอ้างอิง หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ตัวอย่างเช่น Ritter, Ron. The Oxford Style Manual. Oxford University Press, 2002, p. 1.
การเขียนบรรณานุกรม เป็นการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ และวัสดุการเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า และการนำเสนอรายงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาในบทความแต่ละเรื่อง เชื่อถือได้และสามารถพิสูจน์ยืนยันได้
- เพื่อลดการโต้เถียงอันเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
- เพื่อให้เกียรติผู้เขียนแหล่งอ้างอิงนั้น และหลีกเลี่ยงการคัดลอกข้อเขียนของเขา
- เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่อ้างถึงได้
หลักการเขียน
การเขียนบรรณานุกรมหนังสือ
(ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์, ปีพิมพ์.)
ตัวอย่างบรรณานุกรมหนังสือ อัจฉรา จันทร์ฉาย. คู่มือการวางแผนกลยุทธ์ นโยบายธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.
การเขียนบรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
(ชื่อผู้เขียน. “ชื่อวิทยานิพนธ์”. (ระดับปริญญาของวิทยานิพนธ์ ชื่อสถาบัน, ปีที่พิมพ์.)
ตัวอย่างบรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
พฤษมงคล บุญแสนแผน. “ปัญหาในการรับสารนิเทศเพื่อพัมนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์”. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๔๘).
การเขียนบรรณานุกรมวารสารนิตยสาร
(ชื่อผู้เขียนบทความ. “ชื่อบทความหรือชื่อคอลัมน์”. ชื่อวารสาร ปีที่, ฉบับที่ (วัน เดือน ปี). หน้าที่อ้างถึง.)
ตัวอย่างบรรณานุกรมวารสารนิตยสาร
วีรพันธุ์ โตมีบุญ. “เถียงนาตอนบ่ายที่โนนไทย”. จันทร์ ๑๐, ๑๑๓ (กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘). หน้า 15 – 21.
การเขียนบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์
(ชื่อผู้เขียนบทความ. “ชื่อบทความหรือชื่อคอลัมน์”. ชื่อหนังสือพิมพ์, วัน เดือน ปี. หน้าที่อ้างถึง.)
ตัวอย่างบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์
พิมพ์เนตร เทียนยี. “โลกาภิวัตน์ : อาวุโสดอดเน็ต”. เดลินิวส์ . ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘. หน้า 16.
การเขียนบรรณานุกรมจุลสาร
(ชื่อผู้แต่ง. “ชื่อเรื่องหรือชื่อจุลสาร”. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.)
ตัวอย่างบรรณานุกรมจุลสาร
กรมส่งเสริมการเกษตร. “การปลูกหอมแดง”. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ๒๕๔๘.
การเขียนบรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
(ชื่อผู้จัดทำ. “ชื่อเรื่อง”. ประเภทของสื่อ, ปีที่จัดทำ.)
ตัวอย่างบรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
กรมศิลปากร. “บทเห่เรือ”. แผ่นเสียง, ๒๕๔๘.
การเขียนบรรณานุกรมรายการวิทยุและโทรทัศน์
(ชื่อรายการ. ดำเนินรายการโดย ชื่อผู้ดำเนินรายการ. สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ออกอากาศ.วัน เดือน ปี. เวลาที่ออกอากาศ.)
ตัวอย่างบรรณานุกรมรายการวิทยุและโทรทัศน์
ขอคิดด้วยคน ดำเนินรายการโดย เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๙. ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘. เวลา ๒๑.๐๐
– ๒๒.๐๐ น.
การเขียนบรรณานุกรมบทสัมภาษณ์
(ชื่อผู้สัมภาษณ์. ตำแหน่งหน้าที่ (ถ้ามี). สัมภาษณ์ (วัน เดือน ปี).)
ตัวอย่างบรรณานุกรมบทสัมภาษณ์
สุวรรณ จันทิวาสารกิจ. วิศวกรระบบ บริษัท ทู-บี-วัน เทคโนโลยี จำกัด. สัมภาษณ์ (๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๘).
การเขียนบรรณานุกรมข้อมูลจากระบบ Internet
(ชื่อผู้จัดทำ, “ชื่อเรื่อง”. ชื่อเว็บไซต์(URL), วัน เดือน ปีที่ค้นหาข้อมูล)
ตัวอย่างบรรณานุกรมข้อมูลจากระบบ Internet
ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ, “พลังแผ่นดิน”, www.plpd.org สืบค้นวันที่ xx ก.พ. ๒๕๖๒.
จัดทำโดย
: จีระพงษ์ โพพันธุ์
อ้างอิง: วิกิพีเดีย. http://th.wikipedia.org.
2553
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่. “การเขียนบรรณานุกรม (Bibliography)”. www.nlt.go.th. 2549