ส่วนหัวและตัวประกอบของโปรแกรม

1
3701

โครงสร้างของภาษาซี

                ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างในการเขียนโปรแกรมที่ชัดเจน ซึ่งมีรูปแบบของโครงสร้างโปรแกรม ดังนี้

          1.  ส่วนหัวของโปรแกรม หรือที่เรียกว่า เฮดเดอร์ไฟล์ (Header File) เป็นการเรียกใช้เฮดเดอร์ไฟล์เข้ามาร่วมใช้งานภายในโปรแกรม โดยไฟล์เฮดเดอร์เป็นไฟล์ที่ใช้ในการรวบรวมฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ที่สามารถเรียกใช้ได้ เช่น stdio.h  เป็นไฟล์เฮดเดอร์ที่รวบรวมเกี่ยวกับฟังก์ชั่นมาตรฐานทางด้านการรับข้อมูล (Input)  และแสดงผลข้อมูล (Output)

          2.  ส่วนฟังก์ชั่น ในที่นี้ ฟังก์ชั่นที่กำหนดขึ้นมาชื่อฟังก์ชั่น  main()  โดยทุกโปรแกรมจะต้องมี

ฟังก์ชั่น  main() ทำหน้าที่เป็นฟังก์ชั่นหลักในการทำงานในการประมวลผลโปรแกรมทุกครั้ง

          3.  ส่วนตัวโปรแกรม ส่วนนี้เป็นส่วนในการเขียนคำสั่งต่างๆ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ในการเขียน

คำสั่งจะเขียนภายในเครื่องหมายปีกกาเปิด  {   และเครื่องหมายปีกกาปิด   }   โดยปกติส่วนของการเขียนโปรแกรมจะสามารถแบ่งออกได้เป็น  2  ส่วนด้วยกัน คือ

                   1)  ส่วนของการประกาศตัวแปร  คือ ส่วนที่ใช้ในการกำหนดตัวแปรที่จะใช้งานในการเขียนโปรแกรม

                   2)  ส่วนของคำสั่ง หรือ ฟังก์ชั่นต่างๆ คือ ส่วนที่ใช้สำหรับในการพิมพ์คำสั่งและฟังก์ชั่นต่างๆ ซึ่งเมื่อพิมพ์ฟังก์ชั่นเสร็จแล้วจะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน ;  เสมอ

          4.  ส่วนของการเปิดโปรแกรมและปิดโปรแกรม ตามโครงสร้างของภาษาซี จะต้องมีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจบโปรแกรม โดยในที่นี้ใช้เครื่องหมายปีกกาเปิด  {   ในการระบุตำแหน่งการเริ่มต้นโปรแกรม และ ใช้เครื่องหมายปีกกาปิด  } ในการระบุตำแหน่งการจบโปรแกรม



การใช้งาน #include

          คำสั่ง preprocessor ชื่อ #include จะเป็นการเรียก ใช้เนื้อหาจากแฟ้มข้อมูลอื่น เข้ามาในโปรแกรมที่เราสร้างขึ้น โดยปกติคำสั่ง #include จะใช้กับไฟล์ที่เก็บคำสั่ง preprocessor , functions และตัวแปรชนิด global ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ที่เรียกว่า header files และจะมีส่วนขยายของชื่อเป็น .h เช่น stdio.h เราสามารถเรียกใช้หรือ include ไฟล์ที่เป็น header file ได้มากกว่า 1 ไฟล์ในโปรแกรมเดียวกันและถ้า header file อยู่ใน directory เดียวกันกับในโปรแกรมที่ใช้อยู่ ให้ใช้ #include และสัญญาลักษณ์ < >

# include สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ

          รูปแบบที่ 1 : #include<HeaderName>

          รูปแบบที่ 2 : #include “HeaderName”

คำสั่ง Preprocessor directive

alloc.h –> การจัดการหน่วยความจำ,การคืนพื้นที่หน่วยความจำ

bios.h –> การเรียกใช้ฟังก์ชั่นของ IBM-PC ROM BIOS

complex.h –> การคำนวณคณิตศาสตร์เชิงซ้อน

conio.h –> การเรียกใช้ฟังก์ชั่นของ console และ MSDOS

ctype.h –> การจัดการเกี่ยวกับตัวอักษร

dir.h –> การจัดการเกี่ยวกับการเข้าถึง File และ Directory Structure

dos.h –> การกำหนดค่าที่จำเป็นในการเรียกใช้ DOS

float.h –> การกำหนดฟังก์ชั่นในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับเลขทศนิยม

io.h –> การกำหนดฟังก์ชั่นในการ input และ output ระดับต่ำ

math.h –> การกำหนดฟังก์ชั่นในการคำนวณคณิตศาสตร์ทั่วๆ ไป

stdio.h –> การกำหนดฟังก์ชั่นในการ input และ output ทั่วๆ ไป

stdlib.h –> การกำหนดฟังก์ชั่นในการใช้งานทั่วไป เช่น การเรียงลำดับข้อมูล, การค้นหาข้อมูล

string.h –> การกำหนดฟังก์ชั่นในการใช้งานชุดของอักขระ

time.h –> การกำหนดฟังก์ชั่นในการจัดการเกี่ยวกับเวลา เช่น การเปลี่ยนรูปแบบเวลา



การประกาศตัวแปร

          นอกจากพรีโปรเซสเซอร์ไดเร็คทีฟแล้ว ภายในส่วนหัวยังประกอบด้วย ส่วนของการกำหนดข้อมูลที่จะต้องใช้ในการเขียนโปรแกรม ยกตัวอย่าง ถ้าจะเขียนโปรแกรมบวกเลข ข้อมูลที่ต้องใช้อย่างน้อยก็คือ ตัวเลข 2 ชุด ดังนั้นเราต้องสร้างตัวแปรขึ้นมาเพื่อเก็บค่าข้อมูลเหล่านั้น

ตัวอย่าง

#include <stdio.h>

int a = 3;

int b = 2;

int c ;

main ()

{

          c = a + b;

          printf (“Sum = %d\n”, c);

}





อ้างอิง

sdusci-tech.weebly.com, “โครงสร้างพื้นฐานของภาษาซี”, http://sdusci-tech.weebly.com

1 ความคิดเห็น