แสดงผลด้วยคำสั่ง printf()

1
3912

แสดงผลออกทางหน้าจอ

          การทำงานพื้นฐานที่สึดหรือเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของทุกโปรแกรมคือ  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ  โดยในภาษา C นั้น การแสดงผลข้อมูลออกทางจอสามารถทำได้ดังนี้



คำสั่ง printf()

          คำสั่ง printf ถือว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่สุดในการแสดงผลข้อมูลทุกชนิดออกทางหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม( int ) , ทศนิยม ( float ) , ข้อความ ( string ) หรืออักขระ นอกจากนี้คำสั่งยังมีความยืดหยุ่นสูง โดยเราสามารถกำหนดหรือจัดรูปแบบการแสดงผลให้มีระเบียบหรือเหมาะสมตามความต้องการได้อีกด้วย รูปแบบการเรียกใช้คำสั่ง printf แสดงได้ดังนี้

printf(“ format ” , variable);

          format : ข้อมูลที่ต้องการแสดงออกทางหน้าจอโดยข้อมูลนี้ต้องเขียนไว้ในเครื่องหมาย “ ” ข้อมูลที่สามารถแสดงผลได้มีอยู่ 2 ประเภท คือ ข้อความธรรมดา และค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร ซึ่งถ้าเป็นค่าที่เก็บไว้ในตัวแปรต้องใส่รหัสควบคุมรูปแบบให้ตรงกับชนิดของข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรนั้นด้วย

          variable : ตัวแปรหรือนิพจน์ที่ต้องการนำค่าไปแสดงผลให้ตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้



รหัสรูปแบบ (Format Code)

รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ ใช้สำหรับควบคุมการแสดงผลตัวแปร นิพจน์ หรือมาโครออกทางหน้าจอโดยรหัสรูปแบบในภาษาซี มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน การเลือกนำไปใช้จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับค่าของข้อมูลที่จะแสดงผลด้วย รหัสรูปแบบ ดังนี้

รหัสควบคุมรูปแบบ การนำไปใช้งาน
%d สำหรับแสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม ( int, short, unsigned short, long, unsigned long)
%u สำหรับแสดงผลตัวเลขจำนวนเต็มบวก ( unsigned short, unsigned long )
%o สำหรับแสดงผลออกมาในรูปแบบของเลขฐานแปด
%x สำหรับแสดงผลออกมาในรูปแบบของเลขฐานสิบหก
%f สำหรับแสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนทศนิยม ( float, double, long double )
%e สำหรับแสดงผลตัวเลขทศนิยมออกมาในรูปแบบของ ( E หรือ e ) ยกกำลัง ( float, double, long double )
%c สำหรับแสดงผลอักขระ 1 ตัว ( char )
%s สำหรับแสดงผลข้อความ ( string หรืออักขระมากกว่า 1 ตัว)
%p สำหรับแสดงผลตัวชี้ตำแหน่ง ( pointer )

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง printf แสดงผลข้อความธรรมดาออกทางหน้าจอ ดังนี้

printf(“Hello Program C”);   แสดงข้อความ Hello Program C ออกทางจอภาพ
printf(“Kampangdinpittayakom school”);     แสดงข้อความ Kampangdinpittayakom school ออกทางจอภาพ
printf(“Phichit Thailand”);   แสดงข้อความ Phichit Thailand ออกทางจอภาพ



แสดงผลให้เป็นระเบียบด้วยอักขระควบคุมการแสดงผล

          นอกจากนี้เรายังสามารถจัดรูปแบบการแสดงผลให้ดูเป็นระเบียบมากขึ้น  อย่างเช่นขึ้นบรรทัดใหม่  หลังแสดงข้อความ  หรือเว้นระยะแท็บระหว่างข้อความ  โดยใช้อักขระควบคุมการแสดงผลร่วมกับคำสั่ง printf

อักขระควบคุมการแสดงผล ความหมาย
\n ขึ้นบรรทัดใหม่
\t เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 แท็บ (6 ตัวอักษร)
\r กำหนดให้เคอร์เซอร์ไปอยู่ต้นบรรทัด
\f เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 หน้าจอ
\b ลบอักขระสุดท้ายออก 1 ตัว

          การนำอักขระควบคุมการแสดงผลมาใช้  เราต้องเขียนอักขระควบคุมการแสดงผลไว้ภายในเครื่องหมาย “ ” ดังตัวอย่าง

printf(“Hello … \n”); แสดงข้อความ Hello …  แล้วขึ้นบรรทัดใหม่
printf(“Hello…\nPhichit\n”); แสดงข้อความ Hello …แล้วขึ้นบรรทัดใหม่พร้อมกับแสดงข้อความPhichit จากนั้นขึ้นบรรทัดใหม่อีกครั้ง
printf(“Num1 = %d\tNum2 = %f\n”,x,z); แสดงข้อความ Num1 = 45  ตามด้วยการเว้นช่องว่าง 1 แท็บแล้วต่อด้วยข้อความ Num2 = 20.153
*** 45 เป็นการกำหนดในตัวแปล