หน้าแรก วิทยาการคำนวณ ม.1

วิทยาการคำนวณ ม.1

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

          การใช้งานไอทีเป็นเรื่องใกล้ตัวของเราทุกคน อย่างไรก็ตามการใช้งานไอทีอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งาน ดังนั้น การเรียนรู้ การทำความเข้าใจเงื่อนไขการใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญ การศึกษาเงื่อนไขการใช้งาน           การใช้งานไอทีในปัจจุบันมีทั้งแบบมีค่าใช้จ่ายและแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ทุกระบบที่ให้บริการมีการกำหนดเงื่อนไขการใช้งานทั้งสิ้น ซึ่งบางระบบให้ชำระด้วยเงิน หรือบางระบบชำระด้วยการกรอกข้อมูลต่างๆ เป็นข้อแลกเปลี่ยน เงื่อนไขการใช้งาน อาจจะถูกกำหนดด้วยข้อตกลงในลักษณะต่างๆ เช่น           1. ลิขสิทธิ์ (Copyright) ลิขสิทธิ์ ใช้กับงานสร้างสรรค์ทุกประเภท ได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างขึ้นโดยไม่ต้องจดทะเบียน เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่าง แต่สามารถถือเอาได้และกฎหมายให้ความคุ้มครองโดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive rights) ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ได้ทำขึ้น โดยหลักแล้วกฎหมายลิขสิทธิ์จะคุ้มครองเฉพาะรูปแบบของการแสดงออกของความคิด...

ภัยคุกคามจากเทคโนโลยี

          เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เป็นเครื่องมือและมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ และการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายได้           การใช้งานไอทีโดยเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกัน ถ้าใช้งานไม่ระมัดระวัง อาจจะก่อให้เกิดปัญหาจากการคุกคาม การหลอกลวงผ่านเครือข่ายได้ ดังนั้นการเรียนรู้การใช้งานไอทีอย่างเหมาะสม และปลอดภัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง วิธีการคุกคาม           ภัยคุกคามทางด้านไอที มีหลากหลายวิธี โดยมีตั้งแต่ใช้ความรู้ขั้นสูงด้านไอที ไปจนถึงวิธีวิธีที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางด้านเทคนิคอะไรเลย...

ซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล

          ปัจจุบันมีผู้ให้บริการซอฟต์แวร์บนคราวด์ (Cloud-Based Service) จำนวนมาก ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก เราสามารถใช้ซอฟต์แวร์เหล่านี้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับข้อมูลได้ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์บนคราวด์ยังสามารถแบ่งปันหรือทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อีกด้วย ตัวอย่างบริการซอฟต์แวร์บนคราวด์ ได้แก่           1. ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processor) ใช้สำหรับสร้าง แก้ไข และจัดรูปแบบเอกสาร โดยทำงานร่วมกันผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น Google Docs และ Microsoft Words ในชุด Office 365

ข้อมูล

ข้อมูลเป็นทรัพย์สินที่มีค่า มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างแพร่หลาย เราทุกคนต่างเป็นผู้ผลิตและผู้ใช้ข้อมูลในเวลาเดียว เมื่อเรามองสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว จะพบว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง           ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554)

การทำงานแบบวนซ้ำและมีทางเลือก

การทำงานแบบวนซ้ำ           ในการเขียนโปรแกรมมีหลายกรณีที่ต้องมีการทำงานแบบซ้ำ ๆ กัน ซึ่งทำให้ต้องเขียนคำสั่งชุดเดียวกันซ้ำกันหลายครั้ง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องอาศัยคำสั่งวนซ้ำ (Loop Statement) เพื่อช่วยให้การเขียนคำสั่งสั้นลง โดยมีรูปแบบดังนี้                    For ตัวแปร in ลิสต์ :                              ชุดคำสั่ง ตัวอย่าง

ภาษาไพทอน

โปรแกรม คือชุดคำสั่งสำหรับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานกับข้อมูลแล้วได้ผลลัพธ์ตามต้องการ การออกแบบและเขียนโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการแก้ปัญหา ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจะต้องใช้หลักเหตุผลเชิงตรรกะและความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมกัน รู้จักไพทอน (Python)           ไพทอน คือชื่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาโดยไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์ม คือสามารถรันภาษาไพทอนได้ทั้งบนระบบ Unix, Linux , Windows หรือแม้แต่ระบบ FreeBSD ภาษาไพทอนเป็น Open Source เหมือนกับภาษา PHP ทำให้ทุกคนสามารถที่จะนำภาษาไพทอนมาพัฒนาโปรแกรมได้ฟรี ๆ...

ภาษาโปรแกรม

ความหมายของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ (Computer) มาจากภาษาละตินว่า "Computare" ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภาว่า "คณิตกรณ์" เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ การทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process...

รหัสลำลองและผังงาน

เมื่อรู้จักกับปัญหาและความต้องการแล้ว สิ่งต่อไปคือการคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยกระบวนการในการออกแบบการแก้ปัญหานั้น จะต้องถ่ายทอดความคิดและความเข้าใจไปสู่การนำไปปฏิบัติได้ การถ่ายทอดความคิดจะต้องมีจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด และมีลำดับก่อนหลังที่ชัดเจน อาจอยู่ในรูปของข้อความเรียงกันเป็นลำดับ ซึ่งเราเรียกว่า “รหัสลำลอง (pseudocode)” หรืออาจจะอยู่ในรูปของ “ผังงาน (flowchart)” ที่ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ ข้อความ และเส้นเชื่อมโยง รหัสลำลอง (pseudocode) การเขียนรหัสลำลองเป็นการใช้คำบรรยายอธิบายขั้นตอนอย่างชัดเจนในการแก้ปัญหา หรือการทำงานของโปรแกรม...

ขั้นตอนการแก้ปัญหา

ในปัจจุบัน การดำเนินชีวิตต้องมีการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา โดยมีระบบการทำงานที่ซับซ้อนอยู่เบื้องหลัง เช่น สมาร์ทโฟนที่ทำหน้าที่หลังในการสื่อสารและมีโปรแกรมสำหรับสื่อสารอยู่เบื้องหลัง ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ ล้วนอาศัยการเขียนโปแรกรมเพื่อแก้ปัญหาทั้งสิ้น ขั้นตอนการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัญหาบางปัญหาสามารถคิดหาคำตอบได้ทันที แต่ในบางปัญหาอาจต้องใช้เวลานานในการค้นหาคำตอบ ซึ่งคำตอบที่ได้ต้องสามารถพิสูจน์ได้เป็นเป็นคำตอบที่ดีที่สุด น่าเชื่อถือ และสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ การแก้ปัญหา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้

แนวคิดเชิงนามธรรม

การออกแบบการแก้ปัญหาโดยนำแนวคิดเชิงนามธรรมมาประยุกต์ใช้ จะทำให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบทนี้จะกล่าวถึงกระบวนการในการพิจารณารายละเอียดของปัญหา ซึ่งจะนำมาสู่วิธีการแก้ปัญหา แนวคิดเชิงนามธรรม แนวคิดเชิงนามธรรม (Abstract thinking หรือ Abstraction) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) ซึ่งใช้กระบวนการคัดแยกคุณลักษณะที่สำคัญออกจากรายละเอียดปลีกย่อยของปัญหา เพื่อให้ได้รายละเอียดของข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอในการแก้ปัญหา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า