การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ
เทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อมโยงทุกสิ่งรอบตัวให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
ทำให้ชีวิตเราดำเนินได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แต่หากใช้งานอย่างไม่ระมัดระวังอาจเกิดผลกระทบต่อผู้ใช้งานได้
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้ให้เกิดประโยชน์ มีมารยาท มีความรับผิดชอบ
ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่สร้างความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น
แนวทางปฏฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
1. ปฏิเสธการรับข้อมูล
โดยไม่เปิดดู ไม่บันทึก และไม่กดไลค์ (Like)
2. ไม่ส่งต่อ ไม่แชร์
ไม่เผยแพร่ เพราะนอกจะกระจายข้อมูลที่ไม่เป็นจริงแล้ว
ยังอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีการสื่อสาร
ในปัจจุบันจะพบเห็นผู้คนส่วนใหญ่ใช้งานอินเตอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา
ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การแบ่งปันข้อมูล ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อป้องกันผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลได้แก่
ผู้ส่ง ผู้รับ ข้อมูลข่าวสาร ตัวกลาง และข้อตกลงร่วมกัน(Protocol)
ในการสื่อสาร เช่น
การพูดคุยสื่อสารกันระหว่างนักเรียนและครูในชีวิตประจำวัน ผู้ส่งสารคือครู
ผู้รับสารคือนักเรียน ข้อมูลข่าวสารคือสิ่งที่ครูพูด ตัวกลางคืออากาศ
จอโปรเจ็กเตอร์ สำหรับข้อตกลงร่วมกันคือภาษาที่ใช้
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกได้เป็น
2 แบบ ดังนี้
1.
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ตามลักษณะของแพลตฟอร์ม
ซึ่งขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการที่ทำงานอยู่บนฮาร์ดแวร์นั้นๆ
ได้แก่
1.1 โปรแกรมประยุกต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น Microsoft Word, iWork Pages, OpenOffice Writer, LibreOffice Text Document
1.2...
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน
ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขนาดใหญ่มากเท่ากับห้องขนาดใหญ่
จนกระทั่งมีขนาดเล็กลงจนสามารถพกไปในที่ต่างๆ ได้ หรือแม้แต่ในปัจจุบันนี้
คอมพิวเตอร์สามารถอยู่ในอุปกรณ์สวมใส่ได้
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer
System) ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์...
ฟังก์ชัน
ฟังก์ชัน (function)
เป็นโปแรกรมย่อยที่เขียนขึ้นเพื่อให้ทำงานเฉพาะตามที่กำหนด
ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันได้สะดวกโดยไม่ต้องเขียนชุดคำสั่งซ้ำอีก ทำให้การเขียนโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ทำงานได้เร็วและตรวจสอบโปรแกรมได้ง่าย
ไพทอนมีฟังก์ชันให้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
อาทิ input(),
print(), int() และ float() เป็นต้น
การใช้งานทำได้โดยเรียกชื่อฟังก์ชัน พร้อมกับส่งค่าของข้อมูลตามที่ฟังก์ชันนั้นๆ
กำหนด เช่น print(‘area = ‘,a)
แนะนำฟังก์ชัน turtle
ไพทอนมีฟังก์ชัน
turtle
ซึ่งมีต้นฉบับมาจากภาษา...
เงื่อนไขทางเลือก if-elif-else
คำสั่ง if-else ช่วยให้โปรแกรมไพทอนสามารถตัดสินใจเลือกทำงานชุดคำสั่งตามผลลัพธ์ของเงื่อนไข
ซึ่งมีสองทางเลือก และหากมีทางเลือกมากกว่านั้นสามารถใช้คำสั่ง if-else ร่วมกันหรือซ้อนกันได้ นั่นคือคำสั่ง if-elif-else โดยมีรูปแบบดังนี้
if เงื่อนไขทางเลือก 1 :
ชุดคำสั่ง
1
elif เงื่อนไขทางเลือก 2 :
การวนซ้ำด้วยคำสั่ง while
คำสั่ง while คือคำสั่งให้โปรแกรมทำงานวนซ้ำชุดคำสั่งเดิม โดยจะเหมาะสมกับกรณีการวนซ้ำที่ไม่ทราบจำนวนรอบ หรือจำนวนครั้งของการวนซ้ำที่แน่นอน มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
การทำงานของคำสั่ง while คือ ถ้า เงื่อนไขทางเลือก เป็นจริง ชุดคำสั่ง จะถูกเรียกให้ทำงานเป็นจำนวนหนึ่งครั้ง แล้วจะวนกลับไปตรวจสอบ เงื่อนไขทางเลือก อีกจนกว่า เงื่อนไขทางเลือก จะเป็นเท็จ แล้วจึงจะออกจากการวนซ้ำและไปทำงานในคำสั่งถัดไป
ตัวดำเนินการบูลีน
ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนได้เรียนรู้การใช้คำสั่งการตัดสินใจแบบมีทางเลือก (if และ if-else) มาแล้ว สามารถกลับไปทบทวนได้ที่ https://kru-it.com/computing-science-m1/python-command-for-if-if-else/
ในบทเรียนนี้จะเป็นการใช้คำสั่งการเปรียบเทียบค่าโดยใช้ตัวดำเนินการบูลีนได้แก่
and
or หรือ not ในการเชื่อมต่อนิพจน์เปรียบเทียบอย่างง่ายเข้าด้วยกัน
การเชื่อมนิพจน์ 2
นิพจน์ด้วย and...
ทบทวน Scratch
โปรแกรม
Scratch
(สะ – แครช) เป็นโปรแกรมภาษา ที่ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้ง่าย อาทิ
เกมที่สามารถโต้ตอบอย่างง่าย และเมื่อสร้างเป็นชิ้นงานเสร็จแล้ว สามารถนำชิ้นงานนั้นไปแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นบนเว็บไซต์ได้
ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการทางคณิตศาสตร์ และแนวคิดการโปรแกรมไปพร้อมๆ
กับการคิดอย่างสรรค์สรรค์ มีเหตุผล เป็นระบบ และเกิดการทำงานร่วมกัน โดยการใช้งาน Scratch
สามารถใช้งานได้ทั้งออนไลน์ (scratch.mit.edu)
และแบบออฟไลน์ (scratch.mit.edu/download)
หน้าต่างของโปรแกรม
แนวคิดเชิงคำนวณ
แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางการหาคำตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเรียกว่า “อัลกอริทึม”
องค์ประกอบแนวคิดเชิงคำนวณ
การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย เป็นการแตกปัญหาที่ซับซ้อนให้เป็นปัญหาย่อยที่มีขนาดเล็กลงและซับซ้อนน้อยลง เพื่อช่วยให้การวิเคราะห์และออกแบบวิธีการแก้ปัญหาทำได้ง่ายขึ้น