หน้าแรก วิทยาการคำนวณ ม.3

วิทยาการคำนวณ ม.3

การพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย MIT App Inventor

App Inventor เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่เป็นระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งบริษัท Google ร่วมมือกับ MIT พัฒนาโปรแกรม App inventor ขึ้น ต่อมา Google ถอนตัวออกมาและยกให้ MIT พัฒนาต่อเอง (โดยเน้นกลุ่มผู้ใช้ด้านการศึกษามากกว่า) ในนาม MIT App inventor App Inventor ช่วยให้สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งทำผ่านการใช้เว็บเบราเซอร์และทดสอบบนโทรศัพท์ที่เชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์หรือทดสอบบนโทรศัพท์จำลองบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรเจคที่สร้างทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของ App Inventor ซึ่งช่วยให้สามารถพัฒนางานต่อที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ เพียงแค่ได้มีการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตไว้เท่านั้น การสร้างแอปพลิเคชันจะแบ่งการทำงานออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนออกแบบ (App Inventor Designer) ที่จะให้เราเลือกคอมโพเนนท์ที่ต้องการสำหรับที่จะให้สร้างแอปพลิเคชัน ส่วนที่สองเป็นส่วนการเขียนโค้ด (App Inventor Blocks Editor) ที่ให้เราเขียนโค้ดด้วยการต่อบล็อกต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นคำสั่ง...

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และลิขสิทธิ์

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การออกข้อกำหนด ระเบียบ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประเทศไทยมีการออกพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และปรับปรุงมีความทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ โดยรายละเอียดสามารถศึกษาได้จาก พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 หมวด ๑...

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

“ข้อมูลมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ในแต่ละวันนักเรียนจะได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายสังคมจำนวนมากและรวดเร็ว ข้อมูลที่เผยแพร่นั้นมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นเท็จ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการนำผลงานของผู้อื่นไปใช้อย่างถูกต้อง การเลือกรับและส่งต่อข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ การรู้เท่าทันสื่อ จะทำให้การใช้ชีวิตในโลกไซเบอร์มีความปลอดภัย” เหตุผลวิบัติ เป็นการโต้แย้งโดยให้เหตุผลที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง หรือมีความจริงเพียงบางส่วน จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่มีความขัดแย้งกับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง เช่น การโต้แย้งบนเว็บบอร์ดหรือเครือข่ายทางสังคม ที่มีการใช้ข้อความประชดประชัน การใช้ความรู้สึกส่วนตัว การใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง (hate speech)

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

“ข้อมูลมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ในแต่ละวันนักเรียนจะได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายสังคมจำนวนมากและรวดเร็ว ข้อมูลที่เผยแพร่นั้นมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นเท็จ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการนำผลงานของผู้อื่นไปใช้อย่างถูกต้อง การเลือกรับและส่งต่อข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ การรู้เท่าทันสื่อ จะทำให้การใช้ชีวิตในโลกไซเบอร์มีความปลอดภัย” ในปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศทำได้ง่าย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ซึ่งต้องมีความรู้ ความรอบคอบ เข้าใจเทคโนโลยี และศึกษาเงื่อนไขในการใช้งาน ทุกคนควรเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้ในการเรียน การทำงาน และการตัดสินใจ ต้องพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลที่นำมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ว่าแหล่งข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องสมบูรณ์ สอดคล้องตรงตามความต้องการ...

การประมวลผลข้อมูล

“เมื่อเข้าชมเว็บไซต์ เครือข่ายสังคม หรือแอปพลิเคชันสั่งซื้อสินค้า จะมีข้อมูลโฆษณาสินค้า หรือข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่สนใจปรากฏอยู่เสมอ เนื่องด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เว็บไซต์หรือระบบผู้ให้บริการต่างๆ มีการเก็บพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ แล้วนำมาวิเคราะห์สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้ใช้ เทคโนโลยีด้านข้อมูลมีประโยชน์และมีคุณค่ากว่าที่คิด ข้อมูลมีความหลากหลายและมีปริมาณมาก สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว และตลอดเวลา ข้อมูลถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อตัดสินใจ หาคำตอบของปัญหา กำหนดแนวทางการดำเนินการ ตลอดจนนโยบายต่างๆ ในทุกระดับของสังคมตั้งแต่บุคคล ครอบครัว กลุ่มเพื่อน ชุมชน องค์กร และประเทศ จนกล่าวได้ว่าชีวิตประจำวันของเราขับเคลื่อนโดยมีข้อมูลเป็นฐาน”

IoT ในชีวิตประจำวัน

อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1969 โดยองค์กรทางทหาร ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ (U.S. Defence Department) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ในปี 1999 Kevin Ashton บิดาแห่ง Internet of Things เขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า Auto-ID Center ต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่าง ๆ...

สร้างส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (GUI)

ในการเขียนโปรแกรมที่มีส่วนติดต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface: GUI) ช่วยให้เห็นภาพรวมของโปรแกรมได้เป็นอย่างดี ในภาษาไพทอนมีโมดูล tkinter ที่ช่วยให้การพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ทำได้โดยง่ายและรวดเร็ว มี 4 ขั้นตอนดังนี้ 1. นำเข้าโมดูล tkinter 2. สร้างหน้าต่างหลัก (main window) 3. จัดวางวิดเจ็ต (widget)...

การประมวลผลสารสนเทศด้วย Python

ทบทวนพื้นฐานคำสั่งภาษาไพทอน การใช้คำสั่งแสดงผล print และคำสั่งรับข้อมูลการใช้คำสั่งการทำงานแบบวนซ้ำ for และคำสั่งการทำงานแบบทางเลือก if-elseตัวดำเนินการบูลีนการทำงานวนซ้ำ whileการทำงานแบบทางเลือก if-elif-elseการใช้งานฟังก์ชัน “การสร้างแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้ผู้อื่นใช้งานมีหลายรูปแบบ เช่น งานกราฟฟิก งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล เครื่องมือทำงาน สื่อการเรียนรู้ หรือเกม แล้วเพราะเหตุใดทำไมแอปพลิเคชันบางตัวจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก กว่าจะมาเป็นแอปพลิเคชันที่ดีต้องผ่านขั้นตอนอย่างไรมาบ้าง นอกจากสร้างแอปพลิเคชันตามความสนใจของผู้พัฒนาแล้ว ยังต้องสำรวจความต้องการของผู้ใช้ ออกแบบ สร้าง...

การวางแผนการพัฒนาและการติดตามความก้าวหน้า

การวางแผนพัฒนา ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น แต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดที่ต้องจัดลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรคนและเวลา เป็นไปอย่างเหมาะสม รวมถึงต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน หากละเลยขั้นตอนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ทำให้การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเสร็จไม่ทันเวลา หรือมีการทำงานบางอย่างไม่ตรงตามที่ออกแบบไว้ การใช้งานการ์ดคัมบัง ผู้ใช้จะนำการ์ดแต่ละใบมาติดไว้บนกระดาน ซึ่งแบ่งช่องในแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ เพื่อกำหนดแบ่งช่วงเวลาให้กับงานย่อยๆ ซึ่งไม่ได้มีข้อกำหนดที่แน่นอน อาจขึ้นอยู่กับการตกลงกันในทีมผู้พัฒนา สำหรับแอปพลิเคชั่นที่ไม่ซับซ้อนมาก อาจแบ่งออกเป็น...

การพัฒนาแอปพลิเคชั่น

“การพัฒนาแอปพลิเคชั่น หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น อาจทำได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ทำให้สามารถเริ่มต้นได้ง่าย แตกต่างจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวิศวกรรมอื่นๆ ที่ต้องการแรงงานและเครื่องจักรจำนวนมาก เช่น การผลิตรถยนต์ ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม แอปพลิเคชันนั้นอาจมีความซับซ้อนมาก ดังนั้นการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ดีต้องมีการวางแผนการดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่มีผู้ร่วมพัฒนาหลายคน ไม่เช่นนั้น อาจทำให้เกิดความล้มเหลวได้ เช่น การผลิตแอปพลิเคชั่นที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน ผลิตภัณฑ์มีองค์ประกอบไม่ครบตามความต้องการที่กำหนดไว้ ส่งมอบผลิตภัณฑ์ล่าช้าเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ มีความผิดพลาดระหว่างทำงาน รวมถึงการประเมินค่าใช้จ่ายและปริมาณทรัพยากรที่ต้องใช้คลาดเคลื่อนจากความจริงไปเป็นอย่างมาก”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า