การสรุปและเผยแพร่งาน
หลังจากการพัฒนาโครงงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ผู้พัฒนาควรเขียนรายงานโครงงานและเผยแพร่ผลงาน
ซึ่งมีรูปแบบและหัวข้อที่สำคัญดังนี้
1.
การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงงาน
มีโครงร่างที่ใช้เป็นมาตรฐาน แบ่งออกเป็น 5 บท
ดังนี้
- บทที่ 1 บทนำ
- บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินงาน
ในขั้นตอนการดำเนินงาน จะเป็นขั้นตอนที่ต้องพัฒนาชิ้นงาน
หรือดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ได้งานสำหรับส่งมอบ โดยขั้นตอนการพัฒนา แบ่งออกได้เป็น 3
ขั้นตอนดังนี้
1. การเตรียมการ
ในการดำเนินงานตามกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่ได้วางแผนไว้
ต้องเตรียมทรัพยากรให้พร้อมตามที่ระบุไว้ในขั้นตอนการวางแผน
2. การลงมือพัฒนา
ในขั้นตอนนี้
ควรมีการบันทึกความเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ
การวางแผนและออกแบบโครงงาน
หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์
ขอบเขต และแนวทางในการพัฒนาโครงงานแล้ว ควรวางแผนการพัฒนาโครงงานตามขั้นตอนต่างๆ
ให้รอบครอบ รัดกุม
1.
ศึกษาเอกสาร และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงงาน
ขั้นตอนนี้ ควรเริ่มจากการค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
และศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น
2.
กำหนดผลสำเร็จของโครงงาน
เป็นการกำหนดสิ่งที่จะส่งมอบและเวลาในการส่งมอบให้ชัดเจน
การศึกษาและกำหนดขอบเขต
การพัฒนาโครงงาน
ควรศึกษาที่มาและความสำคัญของโครงงาน ว่าโครงงานนั้นแก้ปัญหาอะไร
ได้ประโยชน์อย่างไร กับใครบ้าง
หลังจากนั้นควรระบุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโครงงานให้ชัดเจน ว่าต้องการพัฒนาอะไร
และควรที่จะต้องกำหนดแนวทางและขอบเขตของโครงงานว่าจะแก้ปัญหาในส่วนใดบ้าง
ใช้ความรู้และทรัพยากรใดบ้าง แล้วจึงประเมินระยะเวลาและงบประมาณเท่าไร
โดยมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. ศึกษาที่มาและความสำคัญของโครงงาน
การระบุที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ควรเริ่มต้นจากการอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น โดยระบุให้เห็นภาพว่า
มีปัญหาเกิดขึ้นจริง และปัญหานั้นยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดีพอ
ทั้งนี้การระบุแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมนั้น
ควรมีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
หลังจากที่ได้ระบุที่มาและความสำคัญของปัญหาแล้ว
ควรนำผลการศึกษาและวิเคราะห์การแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น ๆ ที่มีอยู่ว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
มาอธิบายโดยเน้นที่ข้อจำกัดของวิธีแก้ปัญหาเดิม
เพื่ออ้างอิงเป็นเหตุผลในการพัฒนาโครงงาน
จากนั้นกล่าวภาพรวม...
การกำหนดปัญหา
การพัฒนาโครงงานเป็นกิจกรรมที่เริ่มจากการศึกษาสิ่งที่นักเรียนสนใจ
จากนั้นดำเนินการออกแบบ วางแผน ลงมือปฏิบัติจนเกิดผลลัพธ์ และเผยแพร่ผลงานนั้น ซึ่งนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่สนใจอย่างถ่องแท้
แนวทางการพัฒนาโครงงาน ควรเริ่มจากการกำหนดปัญหา ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน หรือปัญหาที่มีผู้แก้ไขไว้แล้ว แต่เราเห็นช่องทางที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น หลังจากกำหนดปัญหาแล้ว เราต้องทำการศึกษาและกำหนดขอบเขตของปัญหาที่ต้องการแก้ไข รวมทั้งศึกษาความรู้เพิ่มเติม แล้ววางแผนกำหนดกิจกรรมและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ จากนั้นดำเนินการพัฒนาโครงงานตามแผนที่วางไว้ ซึ่งระหว่างการพัฒนา อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนแผน เพื่อให้พัฒนาโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดที่กำหนดไว้ เมื่อพัฒนาโครงงานเสร็จแล้ว จึงทำการสรุปผลและเผยแพร่ผลงาน เพื่อเป็นประโยชน์แก้ผู้อื่นต่อไป
การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล
ในบทเรียนนี้จะได้เรียนรู้กับขั้นตอนวิธีพื้นฐานในการจัดเรียงข้อมูล
(Sort)
และการค้นหาข้อมูล (Search) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สัมพันธ์กันที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน
การจัดเรียงข้อมูล
การจัดเรียงข้อมูลเป็นสิ่งที่พบอยู่เสมอ
เมื่อต้องการประมวลผลข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น ครูตรวจข้อสอบของนักเรียน
และต้องการบันทึกคะแนนลงสมุดบันทึกคะแนนนักเรียนที่ยมีการเรียงเลขที่เอาไว้
การเรียงลำดับข้อมูลด้วยเงื่อนไขที่เหมาะสมจะทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างสถานการณ์
ให้เรียงลำดับตัวเลขในตารางด้านล่างนี้
จากน้อยไปหามาก
การทำซ้ำ
การแก้ปัญหาอาจต้องมีการทำงานลักษณะเดียวกันซ้ำหลายรอบ ในหัวข้อนี้
นักเรียนจะได้เรียนรู้รูปแบบการทำซ้ำในรายการและการทำซ้ำด้วยเงื่อนไข
การทำซ้ำในรายการ
การทำซ้ำในรายการจะต้องพิจารณาข้อมูลในรายการจนครบทุกตัว
ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเขียนขั้นตอนวิธีเพื่อพิจารณาข้อมูลจนครบทุกตัว
ตัวอย่างสถานการณ์
สถานการณ์
ถ้านักเรียนมีเงิน
X
บาท และมีรายการราคาสินค้า...
เงื่อนไขของปัญหาและการออกแบบขั้นตอน
การระบุข้อมูลเข้า
ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา
การแก้ไขปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์นั้น
ก่อนที่จะระบุขั้นตอนวิธีที่ชัดเจนได้
จะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อให้ทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่สามารถใช้ในการประมวลผลได้
มีเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างไร ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร
โดยจะแบ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานออกเป็นสองส่วน คือ ข้อมูลเข้า (input) เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อประมวลผล และข้อมูลออก (output) เป็นข้อมูลผลลัพธ์ที่ต้องการ
นอกจากจะระบุว่าคืออะไรแล้ว
ยังอาจระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมได้อีก เช่น ข้อมูลเข้าอาจมีการระบุขอบเขตหรือเงื่อนไข
หรือข้อมูลออกอาจมีการระบุคุณสมบัติที่ต้องการ
การวิเคราะห์นี้เป็นการระบุข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาให้ชัดเจน
ซึ่งจำเป็นต่อการออกแบบขั้นตอนวิธีที่ถูกต้อง
การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการปฏิวัติการทำงานในทุกภาคส่วนของสังคม
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์มีผลให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น ลดภาระงานที่ทำซ้ำ
ๆ รวมถึงเพิ่มความแม่นยำของผลลัพธ์ที่ได้ ขั้นตอนวิธีที่จะสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตรงตามความต้องการ
ต้องผ่านการคิดวิเคราะห์และการออกแบบที่สมบูรณ์ครบถ้วน
การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
ปัญหาที่สามารถแก้ไขด้วยคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาทางคณิตศาสตร์เสมอไป
ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันก็ได้ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้องระบุขั้นตอนการทำงาน
รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ชัดเจน ดังนั้นก่อนจะแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
จึงควรทำความเข้าใจกับปัญหาและความต้องการให้ชัดเจน
แล้วจึงพัฒนาขั้นตอนวิธีที่สามารถใช้งานได้
ข้อมูล
การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction)
การคิดเชิงนามธรรม คือ
กระบวนการคัดแยกคุณลักษณะที่สำคัญออกจากรายละเอียดในโจทย์ปัญหา หรือในงานที่สนใจ
เพื่อให้ได้องค์ประกอบที่จำเป็น เพียงพอต่อการพิจารณาภายใต้สถานการณ์ที่สนใจ
จากภาพข้างต้นมีข้อมูลเพียงพอในการใช้วิเคราะห์การทำงานของระบบรอก
และตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นในการพิจารณาออกทั้งหมด เรียกภาพหรือแผนภาพต่างๆ
ที่เป็นผลลัพธ์ของการคิดเชิงนามธรรมว่า “แบบจำลอง (Model)”
การคิดเชิงนามธรรมเป็นเครื่องมือที่ทำให้นักเรียนสามารถจัดการกับแนวคิดหรือปัญหาที่ซับซ้อนด้วยการเลือกเฉพาะสิ่งที่สำคัญและลดทอนรายละเอียดที่ไม่จำเป็นทิ้งไป
เมื่อตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปแล้ว จะสังเกตได้ว่าแบบจำลองที่ได้นั้น
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ความรู้และวิธีการแก้ปัญหาในสถานณ์ต่างๆ ได้