การใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
ปัจจุบันเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร โดยการสื่อสารมีหลายช่องทางผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เราจึงควรศึกษาวิธีการใช้งานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.
ปรับแสงสว่างของหน้าจอให้เหมาะสมกับดวงตา
2. นั่งในท่าที่เหมาะสม และไม่อยู่ใกล้หน้าจอมากเกินไป
3. พักสายตา พักอิริยาบถทุกๆ 20 นาที
4. ใช้เก้าอี้ที่มีขนาดเหมาะสมกับแต่ละบุคคล
การใช้งานและดูแลรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยี
การใช้งานและการดูแลรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยีอย่างถูกวิธี
ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ชำรุดเสียหายง่าย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ควรปฏิบัติ
ดังนี้
1.
ตั้งคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากผนังพอสมควรเพื่อการระบายความร้อนที่ดี
2.
ไม่เปิดและปิดเครื่องบ่อยๆ
เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่
3.
ทำความสะอาดคอมพิวเตอร์อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้งโดยใช้ไม้กวาดขนไก่ หรือ
แปรงขนอ่อนปัดฝุ่นละอองจากนั้นใช้ผ้าแห้งเช็ด
4.
ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่มมารับประทานใกล้คอมพิวเตอร์
5.
ควรคลุมผ้าหรือพลาสติกทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเราอย่างมาก
ทำให้ต้องมีการปรับตัว และพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เราจึงต้องรู้จักวิธีใช้งานสารสนเทศอย่างปลอดภัย ดังนี้
1. การเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต
ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่น
เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ชื่อเพื่อนหรือผู้ปกครอง ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญเหล่านี้ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการระบุตัวตนที่สำคัญอันหนึ่งทีเดียว
ควรพึงระวังอย่างยิ่ง หากเราเปิดเผยข้อมูลมากเท่าไหร่
ภัยร้ายก็จะเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นเท่านั้น
2....
การใช้งานซอฟต์แวร์เบื้องต้น
โปรแกรมกราฟิก
ส่วนประกอบที่สำคัญของหน้าจอโปรแกรม Paint มีดังนี้
1.
กล่องเครื่องมือ...
การใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานตามขั้นตอนของโปรแกรม
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
1. จอมอนิเตอร์ (Monitor) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับนำเสนอรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว หรือวีดีโอ ออกมาให้ผู้ใช้ได้เห็น
2. ซีพียู (CPU) เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ...
เริ่มต้นเขียนโปรแกรมโดยใช้สื่อการเรียนรู้ code.org
code.org เป็นเว็บไซต์เพื่อสนับสนุนการศึกษาด้าน Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์) เป็นการให้โอกาสนักเรียนทุกคนทั่วโลกได้เรียน
มีโปรแกรมให้เลือกเรียนมากมาย และไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ
เพิ่มเติม อีกทั้งยังมีแบบฝึกหัดในรูปแบบ Block Coding ซึ่งมีความเข้าใจง่ายกว่าการเขียนด้วยโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
มีลักษณะคล้ายๆ กับการต่อจิ๊กซอว์ มีสีสันสดใส
ทำให้ไม่ต้องสับสนกับเรื่องไวยากรณ์ตัวภาษาคอมพิวเตอร์ แต่จะเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
และเมื่อผู้เรียนฝึกหัดเริ่มมรีความคุ้นชินกับโครงสร้างของการเขียนโปรแกรมและเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาแล้ว
ก็จะทำให้สามารถเปลี่ยนไปเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
ภาพตัวอย่างจากเว็บ code.org
ตัวอย่าง การใช้งานโปรแกรม code.org
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
การเขียนโปรแกรมที่ดี
จำเป็นต้องมีแบบแผนและสามารถถ่ายทอดกันได้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
ดังนี้
ซอฟต์แวร์หรือสื่อที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
ซอฟต์แวร์ (software)
หมายถึง
โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน สามารถแบ่งออกเป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ คือ...
การใช้สัญลักษณ์
เป็นการใช้สัญลักษณ์
เพื่อสื่อความหมายในแต่ละลำดับขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา
ซึ่งสัญลักษณ์แต่ละชนิดจะต้องมีความหมายที่แตกต่างกัน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างการเขียนผังงาน (Flow
chart) โดยจะมีสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานในการเขียนผังงาน
และแต่ละลำดับขั้นตอนจะต้องมีลูกศรกำหนดทิศทางการทำงานในแต่ละขั้นตอน
ตัวอย่าง การแสดงลำดับขั้นตอนการปลูกต้นไม้
การวาดภาพ
โดยปกติการแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องคิดก่อนลงมือปฏิบัติ นักแก้ปัญหาทั่วไปจะวาดภาพหรือจินตนาการลำดับวิธีการแก้ไขปัญหาในสมองก่อน การแสดงลำดับขั้นตอนการแก้ไขปัญหาหรือการทำงานด้วยการใช้รูปภาพจึงเป็นวิธีการที่คล้ายกันเพียงแต่จะเขียนออกมาเป็นภาพซึ่งสามารถทำให้จดจำได้ง่ายกว่าการเขียนเป็นข้อความ ตัวอย่างเช่น
การแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา
การเขียนบอกเล่า
เป็นวิธีการวางแผนการแก้ไขปัญหาโดยการเขียนลำดับการทำงานโดยใช้ภาษาหรือข้อความที่เข้าใจง่ายกะทัดรัด
สามารถสื่อถึงสิ่งที่ต้องทำได้อย่าง ชัดเจน