หน้าแรก วิทยาการคำนวณ ป.6

วิทยาการคำนวณ ป.6

การใช้เทคโนโลยีอย่างมีมารยาทและเคารพสิทธิผู้อื่น

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) คืออะไร           ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น ตัวอย่างกรณีของ Starbucks และ...

การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

การปกป้องข้อมูลส่วนตัว           ในปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นช่วยให้ชีวิตของผู้คนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ รวมไปถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต นั่นอาจทำให้ทุกการเชื่อมต่อผู้ใช้ทิ้งได้ทิ้งรายละเอียดข้อมูลที่สำคัญ ๆ เอาไว้โดยไม่รู้ตัว ข้อมูลส่วนตัว (Privacy) ...

ผลกระทบของเทคโนโลยี

รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ                   ความก้าวหน้าของวิทยาการเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ทำให้ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบาย  มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้มนุษย์มีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น และมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างนวัตกรรมรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Self-Driving Car) รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือในอีกชื่อหนึ่ง เรียกว่ารถยนต์ไร้คนขับ นับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Google, Apple, Uber และ Baidu เข้ามามีบทบาทในการพัฒนา

เทคนิคการหาขั้นสูง

การยกเว้นผลลัพธ์การค้นหา หากต้องการยกเว้นผลลัพธ์การค้น หาผ่านเว็บไซต์ Google สามารถทำได้โดยการใส่เครื่องหมายลบ (-) วางไว้ข้างหน้าคำที่ไม่ต้องการค้นหาข้อมูล การสืบค้นข้อมูลโดยการนำเครื่องหมาย – มาใช้วางไว้ข้างหน้าคำใดๆ ที่ใช้ค้นหาจะทำให้ Google ประมวลผลลัพธ์ออกมาโดย exclude คำๆ นั้นออกไป ซึ่งวิธีการค้นหาดังกล่าวทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลให้มีความแม่นยำได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น มะม่วง -อกร่อง

โปรแกรมค้นหา (Search Engine)

โปรแกรมค้นหา (Search Engine)            หมายถึง โปรแกรมค้นหา ที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องมือใช้งานในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ  โดยโปรแกรมส่วนมากที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ Search engines จะมีวิธีการค้นหาโดยการกรอกข้อมูลหรือคำที่ต้องการสืบค้นลงไป แล้วเว็บไซต์จะทำการประมวลผลลัพธ์ต่างๆ ออกมาให้ผู้สืบค้นข้อมูลทราบ ซึ่งคำค้นหาที่ใช้จะเรียกว่าเป็น Keyword (คีย์เวิร์ด) ของการสืบค้นข้อมูล การค้นหาข้อมูล

การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม

          ในการเขียนโปรแกรมสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นเสมอๆ คือ ความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมหากโปรแกรมมีเพียงไม่กี่บรรทัดผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถตรวจสอบความผิดพลาดแต่ละบรรทัดได้ไม่ยาก แต่หากโปรแกรมมีขนาดใหญ่คงยากหากต้องตรวจสอบทีละบรรทัด ดังนั้นในบทนี้จะกล่าวถึงความผิดพลาดต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ข้อผิดพลาดจากการเขียนโปรแกรม เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่งผิด ไม่ตรงกับโครงสร้างของภาษา ซึ่งจะมีผลทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นไม่สามารถแปลความหมาย และทำงานได้ จากนั้นโปรแกรมจะบอกถึงสาเหตุ และแสดงจุดที่ผิดพลาดตำแหน่งนั้น ๆ

การออกแบบโปรแกรมโดยเขียนเป็นข้อความหรือผังงาน

การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ           เป็นการแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานด้วยการเขียนเป็นข้อความบอกเล่า ดังนั้น ในการเขียนข้อความต้องเขียนให้ละเอียด ชัดเจน เป็นขั้นตอน เข้าใจง่าย ไม่ยืดเยื้อจนเกินไปจนยากต่อการทำความเข้าใจหรือยากต่อการตรวจสอบความถูกต้อง การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นผังงาน

การใช้อัลกอริทึมในการแก้ปัญหา

          อัลกอริทึม (Algorithm) คือ ลำดับขั้นตอนในการทำงาน หรือแก้ปัญหา ซึ่งอาจแสดงในรูปแบบต่างๆ เช่น รหัสลำลอง ผังงาน 1. รหัสลำลอง (Pseudocode) การเขียนรหัสจำลองเป็นการใช้คำบรรยายอธิบายขั้นตอนอย่างชัดเจนในการแก้ปัญหาหรือการทำงานของโปรแกรมซึ่งรูปแบบการเขียนจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความถนัดของผู้เขียนโดยอาจเขียนเป็นภาษาพูดทำให้เขียนง่ายไม่ต้องกังวลรูปแบบ ข้อดีของรหัสลำลอง (Pseudocode) 1.เขียนง่าย ไม่ต้องคำนึงถึงวิธีการแก้ปัญหา และไม่ต้องกังวลว่าจะเขียนผิดรูปแบบ2.ถ้าผู้เขียนมีความชำนาญ การเขียนรหัสลำลอง (Pseudo...

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา

           การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาคือ การแก้ไขปัญหาโดยการนำกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขมาใช้พิจารณา โดยจะใช้เหตุผลหรือใช้ประสบการณ์ มาอธิบายวิธีการแก้ไขปัญหาโดยคาดหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่คาดการณ์ไว้  1. การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหาโดยใช้เหตุผล เป็นการแก้ไขปัญหาโดยการใช้ กฎเกณฑ์หรือเหตุผลต่าง ๆ มาอ้างอิงเพื่อนำไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งผลลัพธ์ของการแก้ไขปัญหานี้จะเป็นจริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เริ่มต้น ดังตัวอย่าง เช่น

การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน

การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน จะทำให้มีการตัดสินใจได้อย่างดีขึ้น มีการมองปัญหาอย่างเป็นระบบขึ้น และมีหลักการในการแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าเดิม ซึ่งแต่เดิมอาจจะแก้ไขปัญหาแบบไม่มีหลักการ ไม่มีการวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะและทำความเข้าใจปัญหา ไม่มีการรวบรวมข้อมูลมาให้มากที่สุด ไม่มีการหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาไว้หลายๆทาง ไม่มีการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่มีวิธีการที่ดีที่สุด ไม่มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนในการนำวิธีการไปใช้ และไม่มีการประเมินผล ติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด โดยปกติมนุษย์มีกระบวนในการแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา การทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร กล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ดังนี้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า