การเพิ่มมูลค่าเทคโนโลยี
การเพิ่มมูลค่า
หมายถึงสิ่งต่างๆที่ผู้ผลิตใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนาขึ้นทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มทางด้านราคาและมูลค่าทางการตลาดซึ่งหมายถึงการรับรู้ถึงคุณค่าทางจิตใจของผู้บริโภค ซึ่งการเพิ่มมูลค่าสามารถทำได้หลายวิธี
1. การปรับปรุงรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หรือบริการ
2. การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น
3. การได้รับมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ทรัพย์สินทางปัญญา
ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ “ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม” และ “ลิขสิทธิ์”
สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 8 ประเภท ได้แก่
(1) สิทธิบัตร
การนำเสนองาน
ความหมายของการนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล หมายถึง กระบวนการ วิธีการการสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือ ความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ
จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
1. เพื่อให้ผู้รับสาร รับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ
การเขียนรายงาน
เมื่อดำเนินการทดสอบประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการเขียนรายงานเพื่อแสดงกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ และเพื่อเผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่นซึ่งอาจทำให้เกิดการต่อยอดของผลงาน การเขียนรายงานมีข้อดีคือ สามารถนำเสนอรายละเอียดหรือข้อมูลของสิ่งที่ต้องการนำเสนอได้มาก ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านข้อมูลส่วนที่ต้องการได้ การเขียนรายงานโดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ส่วนคือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนอ้างอิง ในรายงานในวิชาการออกแบบและเทคโนโลยีมีรายละเอียดดังนี้
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเขียนรายงาน
การทดสอบและประเมินผล
เป็นการตรวจสอบการทำงานของชิ้นงานหรือวิธีการที่พัฒนาขึ้นเพื่อประเมินว่าสามารถแก้ปัญหาได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่การกำหนดวิธีการทดสอบจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาชิ้นงานหรือวิธีการว่าต้องการแก้ไขปัญหาในเรื่องใดแล้วเลือกวิธีการทดสอบให้เหมาะสมและสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุดได้ซึ่งวิธีการทดสอบสามารถทำได้หลายวิธี
การทดสอบหน่วยย่อย เป็นการทดสอบที่มุ่งเน้นในระบบย่อยหรือบางส่วนที่สนใจเพื่อตรวจสอบและแก้ไขหรือพัฒนาส่วนนั้นให้ดีขึ้น
การทดสอบทั้งระบบ เป็นการทดสอบที่มักใช้กับงานที่มีหลายระบบ หรือหลายองค์ประกอบทำงานร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าระบบย่อยต่างๆ นั้นทำงานสัมพันธ์กันหรือไม่ การทดสอบระบบนั้นต้องการความแม่นยำสูงจึงต้องมีการประเมินผลการทดสอบอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้งานจริง
การทดสอบกับผู้ใช้จริง เป็นกระบวนการทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนอง หรือแก้ปัญหาของผู้ใช้งานจริงได้ การทดสอบลักษณะนี้จะแตกต่างกับการทดสอบอื่นๆ คือผู้ใช้งานจริงจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทดสอบและเป็นผู้ตัดสินใจในการยอมรับว่าผลของการทดสอบนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริงหรือไม่
ตัวอย่างสถานการณ์
การออกแบบแนวคิด
เมื่อได้แนวทางการแก้ปัญหาแล้ว จะนำแนวทางนั้นมาออกแบบเป็นภาพร่าง ผังงาน รหัสลำลอง หรือแผนภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างแบบจำลอง
ภาพร่าง
การออกแบบเป็นภาพร่าง สามารถทำได้ทั้งแบบ 2 มิติ คือมีด้านกว้าง และด้านยาว และแบบ 3 มิติ คือมีทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้านสูง...
การรวบรวมข้อมูลและคัดเลือกแนวคิด
หลังจากได้กรอบของปัญหาแล้ว จะต้องกำหนดประเด็นในการรวบรวมข้อมูล โดยอาจใช้การตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็น ต้องรู้ในการหาแนวทางแก้ปัญหาเพื่อให้รวบรวมข้อมูลได้ตรงประเด็น และลดเวลาการหาข้อมูลที่ไม่จำเป็น
เมื่อกำหนดประเด็นเสร็จแล้วจึงทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การระดมความคิด
การระดมความคิด จะเน้นไปที่การสร้างสรรค์แนวคิดต่างๆ อย่างมากมาย หลากหลาย การคิดแปลกใหม่ หรือคิดแตกต่างจากแนวคิดเดิมที่มีอยู่ อาจเป็นการคิดดัดแปลง ปรับปรุง หรือต่อยอดจากแนวคิดเดิมก็ได้
การระบุปัญหา
ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นั้น นักเรียนได้เรียนเรื่องของการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้การระบุปัญหาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานมีความชัดเจน การรวบรวมข้อมูลทำได้ครอบคลุมตรงประเด็น มีการวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา มีการออกแบบเพื่อช่วยสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานด้วยกันเข้าใจตรงกัน และยังมีการทดสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
นักเรียนทราบแล้วว่าเราสามารถใช้คำถาม 5W 1H ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและช่วยให้ได้ข้อมูลที่นำไปสู่การกำหนดกรอบของปัญหามาแล้ว เรายังมีเครื่องมืออีกแบบหนึ่งที่ช่วยในการวิเคราะห์กระบวนการทำงานเพื่อหาจุดที่เป็นปัญหาเพื่อลดความสูญเสียหรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วยนั่นคือ แนวคิดแบบลีน (Lean Thinking)
การนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหา
การผลิตไฟฟ้า
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราล้วนต้องการกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ การได้มาซึ่งพลังงานไฟฟ้ามีที่มาจากหลายแหล่ง อาทิ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหิน พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานนิวเคลียร์ หรืออื่นๆ ในบทเรียนนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์หรือ โซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า โดยเซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนพลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้ได้อย่างไม่มีวันหมดสิ้น ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วส่งต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน
ระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์มีองค์ประกอบและการทำงาน
องค์ประกอบหลักในการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์จะประกอบไปด้วย
การจัดการโลจิสติกส์
การจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) คือ การจัดการในการขนส่งสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีการวางแผน ควบคุม จัดเก็บข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวของเพื่อให้ไปถึงยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบโลจิสติกส์นี้ช่วยให้การบริหารงานด้านธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย
กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์
กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย การบริหารจัดการการผลิต การตลาดและการบริการลูกค้า การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ การจัดการสินค้าคงคลังและการกระจายสินค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้