หน้าแรก การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวา

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวา

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ คืออะไร           การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เป็นรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ใช้แนวคิดของออบเจ็ค ซึ่งในออบเจ็คนั้นจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกันคือ ตัวแปรซึ่งเป็นข้อมูลหรือกำหนดคุณลักษณะของออบเจ็ค และเมธอด เป็นฟังก์ชันการทำงานที่อ็อบเจ็คสามารถทำได้ ในการสร้างออบเจ็คนั้นจะอยู่ภายใต้การกำหนดของคลาส โดยคลาสคือการกำหนดว่าออบเจ็คจะมีสมาชิกอะไรบ้าง และกำหนดการทำงานของเมธอด ดังนั้นออบเจ็คจะสร้างจากคลาส เราเรียกออบเจ็คว่า instances ของคลาส           ภาษาต่างๆ เป็นจำนวนมากสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เช่น Java C++ C# Python PHP Ruby และภาษาอื่นๆ ซึ่ง Java ถือว่าเป็นภาษาของออบเจ็คอย่างเต็มรูปแบบ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุนั้นเป็นการพัฒนารูปแบบของการเขียนโปรแกรมไปอีกขั้นจากการเขียนโปรแกรมแบบเดิมที่เราเคยเขียนคือ Procedural programming

ตัวแปรอาเรย์ (ARRAY)

อาเรย์ คืออะไร           อาเรย์ (Array) คือ ประเภทของข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลประเภทเดียวกันแบบเป็นลำดับได้ โดยข้อมูลนั้นจะอยู่ในตัวแปรตัวเดียวกันที่เรียกว่า ตัวแปรอาเรย์ เช่น แทนที่เราจะเขียนประกาศค่าตัวแปรชนิดเดียวกันหลายๆ ตัว เราก็มาเขียนแบบอาเรย์แทน ประกาศตัวแปรทั่วไป ประกาศตัวแปรแบบอาร์เรย์ int n1 = 10; ...

การเขียนโปรแกรมควบคุมแบบวนซ้ำ

คำสั่ง FOR           การซ้ำแบบ for หรือ loop for จะเป็นการให้โปรแกรมทำซ้ำจนกว่าจะครบตามเงื่อนไขที่กำหนด ประกอบด้วย 3 นิพจน์คือ ค่าตัวแปรเริ่มต้น นิพจน์ที่เป็นเงื่อนไข และนิพจน์เพื่อเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปร รูปแบบคำสั่ง FOR           for(ค่าตัวแปรเริ่มต้น; เงื่อนไข; เปลี่ยนแปลงค่าตัวแปร)           {

การใช้คำสั่งควบคุมการทำงานแบบ SWITCH CASE

          คำสั่ง Switch เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขที่ต่างจาก if คือ ค่าที่นำมาตรวจสอบจะต้องเป็นจำนวนเต็มเท่านั้น คำสั่ง Switch Case จะตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าตรงตามเงื่อนไขก็จะกระทำตามคำสั่งนั้นๆ จนกว่าจะมีคำสั่ง break รูปแบบของคำสั่ง switch  switch(กรณี)

การใช้คำสั่งควบคุมการทำงานแบบ if , if….else…. และ if….else….if

คำสั่ง if           การใช้คำสั่ง IF เป็นการประมวลลผล ซึ่งผลที่ได้ต้องเป็นค่าตรรก (Boolean) ผลที่ได้จะออกมา 2 ทางคือเป็นจริง (True) และไม่จริง (False) ถ้าเป็นจริง โปรแกรมจะประมวลผลตามคำสั่งในส่วนของจริง แต่ถ้าไม่จริง โปรแกรมจะประมวลผลตามคำสั่งในส่วนของไม่จริง รูปแบบคำสั่ง IF

ตัวแปรและชนิดข้อมูล

          การเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะภาษาใด เราจำเป็นจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานนั่นคือ ตัวแปร การกำหนดค่าตัวแปร ตลอดจนเครื่องหมายดำเนินการต่างๆ ตัวแปรในภาษาโปรแกรม           ตัวแปรในภาษาโปรแกรม หมายถึงชื่อที่ใช้อ้างอิงถึงข้อมูลใดๆ บนหน่วยความจำ ซึ่งอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ลักษณะตัวแปรในภาษาโปรแกรมนั้นขึ้นอยู่กับภาษานั้นๆ แต่ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึง โดยปกติแล้วจะต้องมีการประกาศให้ทราบก่อนว่าจะมีตัวแปรนี้เกิดขึ้น การประกาศนั้นจะมีรูปแบบคล้ายๆ กัน ดังนี้ รูปแบบการกำหนดตัวแปร ...

โปรแกรม Java Editor

          การพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาจาวานั้น ปัจจุบันมีเครื่องมือหรือโปรแกรมช่วยในการพัฒนามากมาย แม้กระทั้งโปรแกรม NotePad ที่ติดมากับระบบปฏิบัติการวินโดว์ก็สามารถใช้ในการพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวาได้ แต่ใช้สำหรับเขียนคำสั่งเท่านั้น ไม่สามารถคอมไพล์ได้ แต่ในบทเรียนนี้จะแนะนำโปรแกรมที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวาง่ายขึ้น หรือเราเรียกว่า IDE IDE คืออะไร           IDE ย่อมาจาก Integrated Development Environment คือ เครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมโดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น คำสั่ง Compile, Run ตัวอย่างของ IDE เช่น NetBeans, Editplus, JCreator, Eclipse แต่ Notepad...

รู้จักภาษาจาวา (JAVA)

Java คืออะไร           ภาษาจาวา (อังกฤษ: Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก...

การเขียนผังงาน

ผังงาน (Flowchart) คือแผนภาพที่แสดงลำดับขั้นตอนของการทำงานโดยใช้ลูกศรและสัญลักษณ์แบบต่างๆ ประโยชน์ของผังงาน ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว การบำรุงรักษาโปรแกรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรม สามารถดูผังงานเพื่อแก้ไขคำสั่งใน หลักเกณฑ์ในการเขียนผังงาน มีทิศทางจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวาหลีกเลี่ยงจุดตัดเขียนข้อความให้สั้น กะทัดรัดแต่ได้ใจความ

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์สื่อสารกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นๆ ได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ           1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) เป็นภาษาที่มนุษย์ทำความเข้าใจได้ยาก ส่วนใหญ่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีจึงจะสามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานได้มีข้อดีในส่วนที่เขียนโปรแกรมควบคุมอาร์ดาแวร์แต่ละส่วนได้โดยตรงจึงทำงานได้เร็ว แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาเครื่อง (Machine Language) และภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) เป็นต้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า