การเขียนนิทานเป็นเรื่องของจินตนาการ จะต้องมีศิลปะในการเขียนเพื่อให้สนุกสานปลูกฝังคุณธรรม คติ แง่มุมต่าง ๆ แก่ผู้อ่าน
องค์ประกอบของนิทาน
1. แนวคิดหรือแก่นของเรื่อง หรือสารัตถะของเรื่อง แนวคิดของเรื่องนิทาน มักเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ง่ายไม่ลึกซึ้งนัก
2. โครงเรื่องของนิทาน มักสั้น กะทัดรัด เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นลักษณะเรื่องเล่าธรรมดา โดยดำเนินเรื่องไปตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
3. ตัวละคร ไม่ควรมีหลายตัว เพราะเป็นเรื่องสั้น ๆ จะน่าอ่านกว่าเรื่องยาวๆ ตัวละครอาจเป็นคน สัตว์ เทพเจ้า นางฟ้า มนุษย์ อมนุษย์ ฯลฯ
4. ฉาก เป็นภาพจินตนาการที่ผู้เขียนสร้างขึ้น ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
5. ถ้อยคำหรือบทสนทนาที่ตัวละครในเรื่องพูดกัน ควรใช้ภาษาที่กะทัดรัด เข้าใจง่าย สนุกสนานชวนติดตาม
6. คติสอนใจ นิทานที่ดีต้องมีข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมแก่ผู้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เยาว์ ดังนั้น ในตอนท้ายของนิทานมักสรุปคติชีวิตให้เป็นเครื่องเตือนใจผู้อ่านด้วย

อ้างอิง
nthanakrit, “นิทานชาวนากับงูเห่า” จากเว็บไซต์ https://www.storyboardthat.com/storyboards/nthanakrit/ สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562
ภาทิพ ศรีสุทธิ์, “การเขียนนิทาน” จากเว็บไซต์ http://www.st.ac.th/bhatips/writing.html สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562
Comments are closed.