การปกป้องข้อมูลส่วนตัว
ในปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นช่วยให้ชีวิตของผู้คนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ รวมไปถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต นั่นอาจทำให้ทุกการเชื่อมต่อผู้ใช้ทิ้งได้ทิ้งรายละเอียดข้อมูลที่สำคัญ ๆ เอาไว้โดยไม่รู้ตัว
ข้อมูลส่วนตัว (Privacy)
คือ ข้อมูลที่แสดงความเป็นตัวตนของเรา เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน ชื่อบัญชีผู้ใช้-รหัสผ่าน จำนวนเงินเลขที่บัญชีธนาคาร เป็นต้น
ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว
1. บัตรประจำตัวประชาชน

2. ตั๋วเครื่องบิน

3. หนังสือเดินทาง

การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต
1. สแปม (Spam)
สแปม Spam คือ การโพสต์ข้อความ หรือส่งข้อความ รวมถึงภาพ ลิงค์ จำนวนมาก สร้างความรำคาญให้ผู้อื่น รวมถึงการแพร่กระจายข่าวสารที่เกิดความรำคาญ หรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
- อีเมลหรือข้อความที่ส่งมาโดยผู้รับไม่ได้ร้องขอ
- โฆษณาสินค้า หลอกลวงเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

2. ฟิชชิ่ง (Phishing)
เป็นการหลอกลวงโดยให้ผู้ใช้คลิกลองค์ไปยังเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบเว็บไซต์จริง เพื่อให้ผู้ใช้กรอกข้อมูล และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

3. เชิญชวนเล่นเกม
- เชิญชวนให้เล่นเกมโดยให้เหรียญฟรี
- กระตุ้นให้ซื้อไอเทมเพิ่มเติม
- ชักชวนให้เล่นเกมทุกวัน

สิ่งที่ควรระวังบนอินเทอร์เน็ต
1. สื่อลามกอนาจาร
2. การล่อลวงเยาวชน
3. การเล่นเกมที่รุนแรง ฆ่าฟันและละเมิดทางเพศ
4. การขายสินค้าอันตราย เช่น ยาลดความอ้วน ครีมผิวขาว
5. การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม เช่น การประกอบปืนหรือระเบิด
6. การกลั่นแกล้งผู้อื่นในโลกออนไลน์
7. การหลอกลวงขายสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ
8. ขโมยตัวตน เช่น บัญชีผู้ใช้งาน เพื่อไปหลอกบุคคลใกล้ชิด ขอข้อมูลต่างๆ
ข้อแนะนำในการตั้งและใช้งานรหัสผ่าน
1. สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดรหัสผ่านให้มีความปลอดภัย มีดังนี้รหัสผ่านควรตั้งให้เป็นไปตามเงื่อนไขของระบบที่ใช้งาน รหัสผ่านที่ดีควรประกอบด้วยอักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ เช่น Y1nG@#!z หรือ @uG25sx*
2. หลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่านโดยใช้วัน เดือน ปีเกิด ชื่อผู้ใช้ ชื่อจังหวัด ชื่อตัวละคร ชื่อสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือคำที่มีอยู่ในพจนานุกรม
3. ตั้งให้จดจำได้ง่าย แต่ยากต่อการคาดเดาด้วยบุคคลหรือโปรแกรม เช่น ความสัมพันธ์ของรหัสผ่านกับข้อความหรือข้อมูลส่วนตัวที่คุ้นเคย เช่น ตั้งชื่อสุนัขตัวแรก แต่เขียนตัวอักษรจากหลังมาหน้า
4. บัญชีรายชื่อผู้ใช้งานแต่ละระบบ ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะบัญชีที่ใช้เข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น รหัสผ่านของบัตรเอทีเอ็มหลายใบให้ใช้รหัสผ่านต่างกัน
5. ไม่บันทึกรหัสผ่านแบบอัตโนมัติบนโปรแกรมเบราเซอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่น หรือเครื่องสาธารณะ
6. หลีกเลี่ยงการบันทึกรหัสผ่านลงในกระดาษสมุดโน้ต รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย หากจำเป็นต้องบันทึกก็ควรจัดเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
7. ไม่บอกรหัสผ่านของตนเองให้กับผู้อื่น ไม่ว่ากรณีใดๆ
8. หมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ อาจกระทำทุก 3 เดือน
9. ออกจากระบบทุกครั้งเมื่อเลิกใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

กิจกรรมฝึกทักษะ
ให้เนักเรียนข้าเว็บไซต์ https://beinternetawesome.withgoogle.com/th_th/interland แล้วให้นักเรียนเลือกเกาะสีส้ม เพื่อเริ่มเล่นเกมส์

อ้างอิง
วริณศิญา พงษ์เกษ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย จากเว็บไซต์ http://krupicnic.patum.ac.th/kha-xthibay-raywicha/bth-thi-4-kar-chi-thekhnoloyi-sarsnthes-xyang-plxdphay สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563
เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรอบรมออนไลน์การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครูประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 Coding Online for Grade ๔-๖ Teacher (C4T – 7)