ลักษณะของสารสนเทศที่นำเสนอ

วิธีการนำเสนอสารสนเทศเพื่อให้เกิดความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ สามารถแสดงผลออกภายนอกได้ 4 ลักษณะ ดังนี้

1. ข้อมูลตัวเลข ได้แก่ กลุ่มตัวเลขทั้งที่เป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม หรือจำนวนจริง ข้อมูลลักษณะนี้ใช้กันในการศึกษา คำนวณทางวิทยาศาสตร์ การพยากรอากาศ เศรษฐกิจ ข้อมูลดัชนีหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น


2. ข้อมูลตัวอักษร ได้แก่ ตัวอักษรที่ใช้ในการเขียนภาษาต่าง ๆ ทุกภาษา เช่น  ตัวอักษร A-Z ,ก-ฮ,สระ,วรรณยุกต์ รวมทั้งสัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถครอบคลุมสารสนเทศที่ใช้กันทั่วไปในทุกวงการ ทั้งการศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิทยาศาสตร์และธุรกิจการพาณิชย์เป็นต้น


3. ข้อมูลภาพ   กระบวนการทำข้อมูลให้เป็นภาพ เป็นการจัดการหรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของแผนภาพ แผนภูมิหรือกราฟที่เหมาะสมกับชุดข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ โดยสามารถเลือกใช้ตัวแปรในการมองเห็นที่ทำให้ผู้รับสารเข้าใจถูกต้อง ตรงประเด็น ชัดเจน และดึงดูดความสนใจ ได้แก่ ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นรูปภาพ รูปจำลองรูปวาด การวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขและแสดงผลในรูปของแผนผัง แผนภูมิ กราฟต่าง ๆ


4. ข้อมูลเสียง (Voice Data) ได้แก่ ข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารด้วยภาษาพูด เสียงร้อง เสียงกริ่ง เสียงจากวิทยุ ฯลฯ โดยทั่วไปมักจะใช้ข้อมูลหลายประเภทควบคู่กันไปในการสื่อสารและปฏิบัติงาน เช่น  ใช้ข้อมูลเสียงในการสื่อสาร พูดคุย ประชุมและสั่งงาน เขียนบันทึกข้อความในการสั่งการและสื่อสาร และอ่านข้อมูลทั้งที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เป็นต้น


เทคนิคการนำเสนอสารสนเทศ

          ในการนำเสนอสารสนเทศ ให้น่าสนใจสามารถดึงดูดความสนใจของใช้ให้เกิดความประทับใจ และง่ายต่อ การนำไปใช้งานนั้น มีเทคนิคที่ช่วยให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพ ดังนี้

          1. ลดหรือตัดข้อมูลข่าวสารที่ไม่จำเป็นออก นำเสนอเฉพาะสิ่งที่เป็นแก่นสารสาระสำคัญเท่านั้น
          2. จัดวางให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ระมัดระวังในการจัดรูปแบบ มีการเว้นวรรคตอน และจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม ทั้งบนหน้าจอและหน้ากระดาษ จัดรูปแบบตามลักษณะ คุณสมบัติของข้อมูลที่นำเสนอ เช่น นำเสนอตัวเลข ในรูปแบบตาราง รูปกราฟ สรุปแสดงในรูปแบบของการเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วน อัตราร้อยละ ซึ่งจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
          3. ใช้สีสันมาช่วยในการนำเสนอ การเน้นข้อมูลที่สำคัญ ด้วยสีต่าง ๆ จะทำให้น่าสนใจ มองเห็นได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ถ้าใช้สีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการสับสนดูยาก ไม่สบายตา
          4. การใช้กราฟิกมาช่วยในการนำเสนอ รูปภาพหรือกราฟิกนั้นสามารถอธิบายความหมายของข้อมูลต่างๆ แทนข้อความได้มากมายโดยใช้เวลาอันสั้น ช่วยลดเวลาในการอ่านและเก็บรายละเอียดหรือทำให้เข้าใจเนื้อหาสาระได้ในระยะเวลาอันสั้น

อ้างอิง

กนกพร หน่อมาก, “การนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ” สืบค้นจากเว็บไซต์ http://comedu.nstru.ac.th/5581135059/index.php/3/2016-03-07-10-50-46 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562

กูหารง บูซาแล, “การนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ”  สืบค้นจากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/loryeng2/karna-senx-khxmul-laea-sarsnthes เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2562