การปกป้องข้อมูลส่วนตัว

          ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์นับเป็นประเด็นสำคัญที่พลเมืองดิจิทัลต้องเรียนรู้ไว้ ไม่ต่างจากการสร้างความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในโลกจริง ในบทนี้เราจะมาทำความรู้จักความเสี่ยงออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ และเรียนรู้วิธีการเพิ่มความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

          1. ความเป็นส่วนตัว เมื่อข้อมูลปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้การรวบรวมข้อมูลการเข้าถึง การค้นหา และการแบ่งปัน ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย และรวดเร็ว ทำให้ข้อมูลบางประเภทที่มีความเป็นส่วนตัวสูง เช่น เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลประวัติการรักษา อาจรั่วไหลสู่สาธารณะได้ บางครั้งข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ อาจถูกนำไปใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ของเจ้าของข้อมูล เช่นหมายเลขโทรศัพท์มือถือ  ซึ่งถูกเก็บไว้โดยสถานพยาบาล อาจรั่วไหลไปสู่บริษัทที่มีการประชาสัมพันธ์การขายผ่านโทรศัพท์มือถืออาจทำให้เจ้าของหมายเลขนั้นถูกรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น
          ตัวอย่างเช่น นักเรียนโพสต์รูปของตนเองและเพื่อนไว้ในเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม แต่เพื่อนของนักเรียนอาจได้ผลกระทบจากรูปนั้นก็เป็นได้

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. ต้องใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เช่น ไม่ทักทายหรือไม่บอกรหัสผ่านหรือเลขประจำตัวประชาชน
2. รู้จักเก็บข้อมูลส่วนตัวสำคัญไม่ให้คนอื่นทราบ หรือแม้แต่การออกจากระบบเมื่อเลิกใช้งาน
3. ควรจะรักษาระดับความสัมพันธ์และการสื่อสารกับบุคคลอื่นในโลกดิจิทัล
4. ควรกำหนดตัวตนของตนเองในการเล่นเกมเพื่อป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีต่อเรา

          2. สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูล ในการเก็บข้อมูลในฐานะข้อมูลจะมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม โดยระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้คนหนึ่งเข้าถึงข้อมูลต้องมีการตรวจสอบว่า จะให้เข้าถึงข้อมูลใดได้บ้าง หรือไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลใดบ้าง
          ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่การเงินซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลเงินเดือนได้ แต่ไม่ควรได้สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลประวิติส่วนตัวของพนักงานทั่วไป


ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์


1.การละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอกหรือขโมยผลงาน ทำให้ไม่มีการพัฒนาใด ๆ เกิดขึ้น
2.การละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้ไม่มีการพัฒนา จึงไม่มีการลงทุนเกิดขึ้น ทำให้เศรษฐกิจไม่เจริญเติบโต
3.สร้างนิสัยจนกลายเป็นคนชอบคัดลอกผลงานของผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเอง
4.การละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมโลก


เกร็ดความรู้

          ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

          โลกอินเทอร์เน็ตก็ไม่ต่างจากโลกจริงที่มีความเสี่ยง เราจำเป็นต้องเรียนรู้ให้เท่าทันความเสี่ยงรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการของเทคโนโลยี เช่น มัลแวร์ การรังแกออนไลน์ การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงหาวิธีรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้โดยไม่ไปลดโอกาสมากมายที่อินเทอร์เน็ตหยิบยื่นให้เรา




อ้างอิง

Imagineering Education สถาบันผู้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์แบบ STEM และ Technology ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) “เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเคารพในสิทธิของผู้อื่น” จากเว็บไซต์ https://imagineering.co.th/digital-kids สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562

“ลิขสิทธิ์ หมายถึง (Copyright)” จากเว็บไซต์  https://www.im2market.com/2016/11/19/3695 สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562