ผังงาน (Flowchart) คือแผนภาพที่แสดงลำดับขั้นตอนของการทำงานโดยใช้ลูกศรและสัญลักษณ์แบบต่างๆ
หลักเกณฑ์ในการเขียนผังงาน
- มีทิศทางจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
- หลีกเลี่ยงจุดตัด
- เขียนข้อความให้สั้น กะทัดรัดแต่ได้ใจความ
ลัญลักษณ์ที่ใช้ในผังงาน




ลักษณะการเขียนผังงาน
- ทุกผังงานต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด
- ทุกสัญลักษณ์ต้องมีลูกศรเชื่อมโยง
- เขียนผังงานจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
- ไม่ควรมีเส้นเชื่อมโยงที่ตัดกัน หากจำเป็นต้องตัดกันควรใช้จุดเชื่อมโยง
ตัวอย่างผังงาน

ซูโดโค้ด (Pseudo Code) คือรหัสลำลองที่ใช้เป็นตัวแทนของอัลกอริทึม โดยมีถ้อยคำหรือประโยคคำสั่งที่เขียนอยู่ในรูปแบบของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง
หลักการเขียน Pseudo Code
1. ถ้อยคำที่ใช้เขียน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
2. ในหนึ่งบรรทัด ให้มีเพียงหนึ่งประโยคคำสั่ง
3. ใช้ย่อหน้าให้เป็นประโยชน์ ในการแสดงการควบคุมอย่างเป็นสัดส่วน
4. แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนจากบนลงล่าง และมีทางออกทางเดียว
5. กลุ่มของประโยคคำสั่งอาจรวมเป็นหมวดหมู่แล้วเรียกใช้เป็นโมดูล
โปรแกรมส่วนใหญ่ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ส่วน
1. input
2. process
3. output
เช่น โปรแกรมหาผลรวม หาค่าเฉลี่ย หาค่าสูงสุด ต่ำสุด
ประโยชน์ของ Pseudo Code
1. เป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างกระบวนการทำงานของการเขียนโปรแกรมแต่ละโปรแกรม
2. เป็นต้นแบบในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ
3. เป็นตัวกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตาม กระบวนการที่ได้จำลองกระบวนการจริงไว้ในซูโดโค้ด
วิธีการเขียน Pseudo Code
1. ประโยคคำสั่ง (Statement) จะอยูในรูปแบบของภาษาอังกฤษอย่างง่าย
2. ในหนึ่งบรรทัด ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว
3. ควรใช้ย่อหน้า เพื่อแยกคำเฉพาะ (Keywords) ได้ชัดเจน รวมถึงจัดโครงสร้างการควบคุมให้เป็นสัดส่วน ซึ่งช่วยให้อ่านโค้ดได้ง่าย
4. แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงลาง โดยมีทางเข้าเพียงทางเดียว และมีทางออกทางเดียวเท่านั้น
5. กลุ่มของประโยคคำสั่งต่างๆ อาจจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูล แต่ต้องมีกากำหนดชื่อของโมดูลด้วย เพื่อให้สามารถเรียกใช้ งานโมดูลนั้นได้
ตัวอย่างการเขียน Pseudo Code
Algorithm <ออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ “ข้าวยำใบไม้ทอด”>
1. เตรียมกล่องกระดาษ หรืออาจใช้กระดาษลังที่ไม่ใช้แล้ว
2. เตรียมอุปกรณ์ได้แก่ กรรไกร คัตเตอร์ กาว ดินสอ สี ไม้บรรทัด แผ่นใสหรือถุงพลาสติก
3. วัดขนาดกระดาษลังให้ได้ความยาว 20 cm. กว้าง 12 cm. และลึก 10 cm.
4. ตัดโดยเผื่อระยะกระดาษสำหรับติดกาวด้านข้างด้วย
5. พับกระดาษลังให้เข้ากันจนเป็นรูปกล่อง
6. เจาะด้านบนฝากล่อง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
7. ใช้แผ่นใสหรือถุงพลาสติกปิดช่องส่วนที่เจาะในข้อ 6.
8. ตกแต่งให้สวยงาม
END
อ้างอิง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 หน้า 59
Sonny, “Pseudocode คืออะไร”, https://stackpython.co/programming-news/pseudocode, สืบค้นวันที่ 19 มิถุนายน 2565
ธัญพิสิษฐ์ คุณยศยิ่ง, “แนวคิดในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์”, https://www.yupparaj.ac.th/thanphisit/bot1-6.html, สืบค้นวันที่ 19 มิถุนายน 2565
thaiall, “รหัสเทียม หรือซูโดโค้ด”, http://www.thaiall.com/datastructure/pseudocode.htm, สืบค้นวันที่ 19 มิถุนายน 2565
วิฑูร มีสมคิด, “รหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด (Pseudo Code)”, http://c-by-step.weebly.com/-35953641365036043650358836573604.html, สืบค้นวันที่ 19 มิถุนายน 2565