การใช้คำสั่งควบคุมการทำงานแบบ if , if….else…. และ if….else….if

0
2906

คำสั่ง if

          การใช้คำสั่ง IF เป็นการประมวลลผล ซึ่งผลที่ได้ต้องเป็นค่าตรรก (Boolean) ผลที่ได้จะออกมา 2 ทางคือเป็นจริง (True) และไม่จริง (False) ถ้าเป็นจริง โปรแกรมจะประมวลผลตามคำสั่งในส่วนของจริง แต่ถ้าไม่จริง โปรแกรมจะประมวลผลตามคำสั่งในส่วนของไม่จริง

รูปแบบคำสั่ง IF

if(เงื่อนไข){

          คำสั่ง 1;

          คำสั่ง 2;

          …

} คำสั่งถัดไป;


ตัวอย่างการเขียนคำสั่ง IF

public class Grade1 {

    public Grade1() {

    }

    public static void main(String[] args) {

        int score=80;

        char Grade;

        if(score>=80){

          Grade=’A’;

        System.out.println(“You get grade :”+Grade);

        }

    }

}


ผลลัพธ์ของโปรแกรม




คำสั่ง IF…ELSE….

          เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานในลักษณะที่มีการกำหนดเงื่อนไขตรรกที่ได้ผลลัพธ์เป็นจริง หรือ เท็จ โดยตรวจสอบคำสั่ง IF ตามเงื่อนไขที่กำหนด ถ้าเงื่อนไขที่ตรวจสอบเป็นจริง โปรแกรมจะทำตามคำสั่งที่อยู่ภายใต้คำสั่ง IF แต่ถ้าเงื่อนไขที่ตรวจสอบเป็นเท็จ โปรแกรมจะทำตามคำสั่งที่อยู่ภายใต้คำสั่ง ELSE

รูปแบบคำสั่ง IF…ELSE…

if(เงื่อนไข){

          คำสั่ง 1;

          คำสั่ง 2;

          …

}

else{

          คำสั่ง 1;

          คำสั่ง 2;

          …

}


ตัวอย่างการเขียนคำสั่ง IF…ELSE…

public class Grade2 {

      public Grade2() {

    }

    public static void main(String[] args) {

        int score=60;

        char Grade;

        if(score>=80){

          Grade=’A’;

          System.out.println(“You get grade :”+Grade);

        }

        else{

          Grade=’B’;

          System.out.println(“You get grade :”+Grade);

        }

    }

}


ผลลัพธ์ของโปรแกรม




คำสั่ง IF…ELSE….IF

          เป็นการใช้คำสั่ง if ที่ซับซ้อนมากขึ้นโดยจะใช้คำสั่ง if ซ้อนกัน โดยจะซ้อนใน { } คำสั่งหลัง if หรือ else ประกอบด้วยรูปแบบซ้อน if ในส่วนที่เป็นจริง และเป็นเท็จ


ตัวอย่างการเขียนคำสั่ง IF…ELSE…IF

public class MyScore {

      public MyScore() {

    }

    public static void main(String[] args) {

        int score = 60;

        if(score < 50){

          System.out.println(“Your Grade : F”);}

        else if(score < 60){

          System.out.println(“Your Grade : D”);}

        else if(score < 70){

          System.out.println(“Your Grade : C”);}

        else if(score < 80){

          System.out.println(“Your Grade : B”);}

        else System.out.println(“Your Grade : A”);

    }

}


ผลลัพธ์ของโปรแกรม




แบบฝึกหัด

ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมประมวลผลเกรด โดยมีการคำนวณดังนี้ เกรด A มีคะแนน 80-100 คะแนน, เกรด B+ มีคะแนน 75-79 คะแนน, เกรด B มีคะแนน 70-74 คะแนน, เกรด C+ มีคะแนน 65-69 คะแนน, เกรด C มีคะแนน 60-64 คะแนน, เกรด D+ มีคะแนน 55-59 คะแนน, เกรด D มีคะแนน 50-54 คะแนน และ เกรด F มีคะแนนน้อยกว่า 49 คะแนน





อ้างอิง

doesystem.com, “การใช้ if, if else และ if else if”, http://www.doesystem.com สืบค้นวันที่ 26 ก.ย. 60

mystou.com, “Java Basic: การใช้คำสั่ง if…else”, http://mystou.com/java-basic-if-else/ สืบค้นวันที่ 26 ก.ย. 60

MarcusCode, “คำสั่งเลือกเงื่อนไข”, http://marcuscode.com/lang/java/selection-statements สืบค้นวันที่ 26 ก.ย. 60