รู้จักภาษาจาวา (JAVA)

1
4422

Java คืออะไร

          ภาษาจาวา (อังกฤษ: Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ “จาวา” ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้



ข้อดีของ ภาษา Java

–  ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

–  โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้

-ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย

– ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น 

–  ภาษาจาวาถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น เพราะ Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificates

-มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่าง ๆ



ข้อเสียของ ภาษา Java

– ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลางก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง(หรือกลุ่มของคำสั่ง) ในเวลา runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา

– tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS)



หลักการทำงานของภาษาจาวา

          ภาษาจาวาเป็นภาษาที่เขียนขึ้นมาครั้งเดียว และสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ได้ ความนิยมในภาษาจาวาจึงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระบวนการการทำงานของภาษาจาวามีดังนี้

1. เริ่มด้วยการเขียน Source Code เป็นไฟล์นามสกุล .java

2. คอมไพล์ให้กลายเป็น Java Byte Code ที่จัดเก็บในนามสกุล .class เมื่อมีการเรียกใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ไฟล์ .class จะถูกคอมไพล์อีกครั้งให้อุปกรณ์นั้นๆ ที่ใช้เปิดสามารถสามารถอ่านได้ แล้วแสดงผลออกมา

          การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวา จำเป็นต้องมีชุดพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวาที่เรียกว่า Java Development Kit หรือ JDK



โครงสร้างของภาษาจาวา

          ก่อนการเริ่มต้นเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวา ควรทำความรู้จักโครงสร้างของภาษาจาวาก่อน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก สำหรับโครงสร้างของภาษาจาวามีดังนี้



public class ชื่อคลาส

{
          public static void main(String[] agrs)
          {
                   ประโยคคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม;
          }
}



คำอธิบาย

ชื่อคลาส : ต้องเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอักษรตัวแรกต้องเป็นพิมพ์ใหญ่ และถ้ามีหลายคำจะต้องเขียนติดกัน



กฎการตั้งชื่อ(Identify)

  • ประกอบด้วยตัวอักษร และหรือตัวเลข โดยตัวอักษรให้ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษไม่ว่าตัวเลขหรือตัวใหญ่รวมถึงสัญลักษณ์พิเศษ _ หรือ $ เช่น age, name2, int2float, _name, Currency$ เป็นต้น
  • ความยาวตัวอักษรไม่ควรเกิน 65535 ตัวอักษร
  • ไม่ควรมีตัวเลขเป็นตัวแรก เช่น 101database, 2name ถือว่าไม่สามารถใช้ตั้งชื่อได้
  • ตัวอักษรตัวเล็กและตัวใหญ่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น Count, count และ CoUnT ทั้งสามตัวอ่านเหมือนกัน แต่ถือว่าเป็นคนละตัวกัน
  • ต้องไม่ตรงกับคีย์เวิร์ดใดในภาษาจาวาดังต่อไปนี้
abstract double int strictfp ** boolean
else interface super break extends
long switch byte final native
synchronized case finally new this
catch float package throw char
for private throws class goto *
protected transient const * if public
try continue implements return void
default import short volatile do
instanceof static while





อ้างอิง

amplysoft, “Java ภาษาจาวา คืออะไร มาเรียนรู้กัน”, http://www.amplysoft.com สืบค้นวันที่ 24 ก.ย. 60

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “ภาษาจาวา”, https://th.wikipedia.org/ สืบค้นวันที่ 24 ก.ย. 60

mindphp, “Java คืออะไร จาวา คือภาษาคอมพิวเตอร์ สำหรับเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ”, http://www.mindphp.com สืบค้นวันที่ 24 ก.ย. 60