การเปิดใช้งานโปรแกรม
การเปิดใช้งานโปรแกรม สามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน วิธีแรกคือดับเบิลคลิกที่ไอคอน ที่อยู่ในหน้าจอเดสท็อป หรือถ้าไม่มีไอคอนนี้อยู่ที่หน้าจอเดสท็อป สามารถเข้าไปที่ Start > เลือกโฟลเดอร์ Corel VideoStudio X9 > Corel VideoStudio X9



กลุ่มเครื่องมือของโปรแกรม

1. Step Panel เป็นกลุ่มของปุ่มที่ใช้สลับไปมาระหว่างโหมดต่างๆ คือ Capture , Edit และ Share ดังนี้
– Capture เป็นโหมดการจับภาพวีดีโอเข้ามาในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจับภาพจากกล้องดิจิตอลวีดีโอผ่านการ์ด Fire Wire จับภาพจากกล้องอะนาล็อควีดีโอผ่าน Capture Card หรือจะเป็นการจับภาพผ่านกล้อง Web Cam ที่ต่อผ่าน USB Port เป็นต้น
– Edit เป็นโหมดที่ผู้ใช้ ใช้ในการตัดต่อวีดีโอ เรียงลำดับคลิปต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ รวมถึงใส่ Effect ต่างๆ โดยคลิกเลือก Effect ที่จะใช้และลากเอามาวางบนภาพ การใส่ Overlay Track ซึ่งเป็นการซ้อนภาพเข้าด้วยกัน การใส่ Title ซึ่งโปรแกรมจะให้ใส่ข้อความต่างๆ โดยการเลือกฉากที่ต้องการแล้วพิมพ์ข้อความลงไป และใส่เสียงลงในวีดีโอ
– Share เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการตัดต่อวิดีโอ โดยโปรแกรมสามารถสร้างไฟล์สกุลต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
2. Menu Bar คือชุดคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ควบคุมโปรแกรม โดยมีคำสั่งที่สำคัญ อาทิ สร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการ บันทึกโครงการ เป็นต้น
3. Options Panel ส่วนนี้จะมีปุ่มและข้อมูลอื่นๆ ที่ให้ผู้ใช้ได้ปรับแต่งวิดีโอที่เลือก โดยฟังชันก์ต่างๆ ในส่วนนี้จะเปลี่ยนไปตามขั้นตอนที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่ เช่น ถ้าเลือกวีดีโอก็จะมีฟังก์ชั่น ต่างๆ สำหรับจัดการกับวีดีโอ หรือถ้าเลือกเสียงก็จะมีฟังก์ชั่นสำหรับการจัดการเรื่องเสียง เป็นต้น
4. Preview Window เป็นหน้าต่างแสดงวิดีโอปัจจุบัน
5. Navigation Panel ปุ่มสำหรับควบคุมวีดีโอ เช่น เล่นวีดีโอ หยุด หยุดชั่วขณะ เลื่อนไปข้างหน้า เลื่อนกลับ เป็นต้น
6. Library เป็นส่วนที่ใช้เก็บและรวบรวมทุกอย่างที่จะใช้ในการตัดต่อวิดีโอไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ, เสียง, ภาพนิ่ง, เอฟเฟ็กต์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน
7. Timeline แสดงคลิป, ตัวหนังสือและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่อยู่ในโปรเจ็ค
การเพิ่มไฟล์เพื่อเตรียมใช้งานใน Options Panel

ในส่วนของ Options Panel เลือก Media หลังจากเลือกจะเห็นว่ามีตัวอย่างของมีเดียอยู่ ซึ่งในส่วนนี้ผู้ใช้สามารถเพิ่มไฟล์มีเดียต่างๆ เข้ามาได้ ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอ ภาพนิ่ง หรือเสียง โดยการคลิกที่ปุ่ม “Import Media Files” (จากภาพคือปุ่มที่มีวงกลมสีส้ม)

เมื่อคลิกที่ปุ่ม “Import Media Files” แล้ว จะมีหน้าต่างค้นหาไฟล์ขึ้นมา ให้ทำการเลือกไฟล์วิดีโอ ภาพนิ่ง หรือเสียง ตามต้องการ(สามารถกดปุ่ม Ctrl เพื่อเลือกหลายไฟล์พร้อมกัน หรือกดปุ่ม Shift เพื่อเลือกหลายไฟล์ที่เรียงติดกัน) เมื่อเลือกเสร็จแล้วกดปุ่ม “Open” เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเพิ่มไฟล์
การนำไฟล์เข้าสู่ Timeline

การแทรก Transition

เมื่อมีการนำภาพหรือวิดีโอหลายๆ ไฟล์มาต่อกัน จะทำให้การเปลี่ยนภาพหรือวิดีโอมีความกระด้าง ดูไม่ลื่นไหล ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้โดยการใส่ Transition ให้กับวิดีโอ โดยมีวิธีการดังนี้
1. คลิกที่ปุ่ม Transition ในส่วนของ Options Panel
2. แดรกเมาส์ตัว Transition ที่ต้องการมาวางไว้กึ่งกลางระหว่างไฟล์มีเดีย (ดังภาพ)
3. นำเมาส์มาเลือกที่ Timeline แล้วทดลองกดปุ่ม Play เพื่อดูผลลัพธ์
การแทรกข้อความ

1. คลิกที่ปุ่ม “Title” ในส่วนของ Options Panel
2. เลือกแบบข้อความที่ต้องการ

3. แดรกเมาส์เลือกแบบข้อความมาวางใน Timeline

4. ดับเบิลคลิกที่ข้อความในส่วนของ Preview Window แล้วพิมพ์ข้อความตามต้องการ ในขั้นตอนนี้สามารถปรับแต่งแบบอักษร ขนาด สี และอื่นๆ ได้ในส่วนขวามือ
การแทรก Filter

1. คลิกที่ปุ่ม “Filter” หรือรูปสัญลักษณ์ FX
2. เลือกรูปแบบ Filter ตามต้องการ
3. คลิกเลือกแล้วแดรกเมาส์มาวางในภาพหรือวิดีโอตามต้องการ

4. ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการปรับแต่ง Filter สามารถทำได้โดยคลิกที่ภาพหรือวิดีโอที่ใส่ Filter (ตามภาพหมายเลข 1) แล้วเลือก “Customize Filter”

5. จะได้หน้าต่าง Average ขึ้นมา ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ (ในที่นี้ไม่ขอแนะนำการปรับแต่ง เพราะแต่ละ Filter จะมีการปรับแต่งไม่เหมือนกัน)
การเคลื่อนไหวของภาพ
โปรแกรมนี้นอกจากจะสามารถตัด ตกแต่ง ต่อ เพิ่มสิ่งต่างๆ ในวิดีโอแล้ว ยังมีความสามารถที่โดดเด่น และง่ายอีกหนึ่งออฟชั่นคือ การทำให้ภาพสามารถเคลื่อนที่ได้ มีวิธีการทำดังนี้

1. คลิกที่ปุ่ม “Path” ในส่วนของ Options Panel
2. เลือกรูปแบบการเคลื่อนที่ที่ต้องชการ
3. แดรกเมาส์เลือกรูปแบบการเคลื่อนที่มาวางในภาพ
การนำไฟล์วิดีโอไปใช้งาน
เมื่อเสร็จสิ้นการปรับแต่งและตัดต่อวิดีโอตามต้องการแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินงานหรือการสร้างไฟล์หลังการตัดต่อ เรียกว่าเป็นขั้นตอนการ Share เป็นการกำหนดรูปแบบให้กับวิดีโอ มีวิธีการดังนี้

1. คลิกที่ปุ่ม “Share” ในส่วนของ Step Panel
2. เลือกรูปแบบไฟล์ตามต้องการ
3. พิมพ์ชื่อของไฟล์ในช่อง File name และเลือกที่จัดเก็บในช่อง File location
4. คลิกปุ่ม “Start” แล้วโปรแกรมจะเริ่มต้นการบีบอัดไฟล์เพื่อนำไปใช้งาน ซึ่งขั้นตอนนี้จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสเปกของคอมพิวเตอร์ และความยาวของวิดีโอ