องค์ประกอบของการถ่ายภาพ

1
1702

การจัดองค์ประกอบในภาพ (Composiitioning) จะทำให้ภาพมีคุณค่าน่าดึงดูดใจ ทำให้ภาพดูแตกต่างจากภาพธรรมดาทั่ว ๆ ไปเป็นภาพที่มีความหมาย



กฎสามส่วน (Rule of Thirds)

การจัดองค์ประกอบของภาพให้ดูดีประการหนึ่งคือการเลือกวางตำแหน่งจุดสนใจของ ภาพ โดยการแบ่งด้านกว้างและด้านยาวออกเป็นด้านละสามส่วนจะทำให้ภาพถูกแบ่งออกมา ได้ 9 ช่อง จุดที่เส้นแบ่งตัดกันจะมีอยู่ 4 จุดด้วยกัน จุดใดจุดหนึ่งของจุดทั้งสี่ ถือเป็นตำแหน่งสำหรับวางส่วนสำคัญที่สุดของภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น ช่างภาพมือใหม่มักจะวางจุดสนใจไว้ที่กลางภาพเนื่องจากยังไม่คุ้นกับการมอง ผ่านช่องมองภาพ หรือมัวพะวงมุ่งสนใจกับวัตถุที่จะถ่าย ดังนั้นหากเราฝึกกวาดสายตาดูรอบ ๆ ภาพที่ช่องมองภาพแล้วเลือกว่าจะเลื่อนจุดสนใจไปยังจุดใดจุดหนึ่งของสี่จุด ดังกล่าว เราก็จะได้ภาพที่ดูดีขึ้น



เส้นนำสายตา (leading Line)

โดยธรรมชาตินั้น เมื่อเรามองไปยังภาพ ตาของคนเราจะเคลื่อนไปตามเส้นสายต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ ดังนั้น เราสามารถที่จะจัดองค์ประกอบของภาพให้มีเส้นสาย และให้ผู้ชมเคลื่อนสายตาไปตามเส้นสายนั้น (เส้นสายเหล่านี้อาจจะเป็นถนน ธารน้ำ ทิวเขา เส้นแบ่งของสีสัน เส้นแบ่งความเข้มของแสง ขอบเงาของวัตถุ ฯลฯ) ผ่านจุดสนใจจนเลยไกลออกไป เส้นสายเหล่านี้อาจจะมีรูปทรงเป็นเส้นตรง เส้นเฉียง เส้นโค้ง เส้นซิกแซก ฯลฯ



ฉากหลัง (Background)

บ่อยครั้งที่ภาพบางภาพที่น่าจะดูดีแต่พบว่าจุดสนใจกลับดูไม่เด่นพอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฉากหลังดูวุ่นวายแย่งความสนใจจากจุดสนใจหลัก ดังนั้น ในการถ่ายภาพให้หามุมกล้องที่ฉากหลังดูค่อนข้างเรียบ ไม่มีอะไรรกสายตา ไม่มีแสงสีที่จะมาแย่งตายตาไปจากจุดสนใจ อีกทางหนึ่งคือ เปิดขนาดของอะเพอร์เจอร์ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้ระยะชัดลึกน้อยลงทำให้ฉากหลังพร่ามัว การถ่ายของชิ้นเล็ก ๆ เช่นการถ่ายภาพดอกไม้ เราสามารถใช้ระดาษที่มีสีโทนมืดไปไว้ด้านหลังของดอกไม้ที่จะถ่ายเพื่อทำเป็น ฉากหลัง ก็จะทำให้ภาพของดอกไม้ดูโดดเด่นขึ้น



ฉากหน้า  (Foreground)    

ส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่น ๆ ใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ กลาง ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพน่าสนใจอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องเพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไป



กรอบภาพ (Framing)     

ภาพบางภาพอาจดูโล่ง ๆ แต่หากเราแต่งภาพโดยให้มีฉากหน้า เช่นให้มีกิ่งไม้ใบไม้มาแซม ๆ ที่ขอบภาพ สามารถทำให้ภาพดูดขึ้นไม่โล่งเหมือนเดิม การประกอบภาพด้วยขอบประตู หรือขอบหน้าต่างไว้ในบริเวณขอบของภาพสักสองถึงสี่ด้านก็ช่วยให้ภาพนั้น ๆ ดูไม่โล่งจนเกินไปได้เช่นกัน การจัดให้มีกรอบภาพแบบธรรมชาตินี้ยังเป็นเทคนิคที่ช่วยให้จุดสนใจดูเด่นขึ้น และยังเพิ่มมิติให้กับภาพได้

OLYMPUS DIGITAL CAMERA



ความสมดุล

ความสมดุลที่เท่ากัน เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุล นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว

ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน การจัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลเช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน ด้านซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากันด้วยน้าหนักทางสายตา เช่น สี รูปทรง ท่าทาง ฉากหน้า ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนในกว่าแบบสมดุลที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า แต่แปลกตาดี



ช่องว่าง (Space)

เป็นการจัดพื้นที่ตำแหน่งของจุดสนใจในภาพให้มีความเหมาะสม เช่น แบบหันหน้าไปทางใดหรือเคลื่อนที่ไปทางใดก็ควรเว้นช่องว่างทางด้านนั้นให้ มากกว่าอีกด้าน ซึ่งหากจัดไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด แคบ เกิดขึ้นกับภาพได้เพื่อให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัดและยังเหลือที่ว่างให้คิดหรือจินตนาการต่อ



จุดตัดเก้าช่อง

การจัดองค์ประกอบแบบจุดตัดเก้าช่อง ก็คือการวางเส้นแบบ กฎสามส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน มาตัดกันนั่นเอง เราจึงเรียกกฎนี้ว่า “จุดตัด 9 ช่อง” จัดองค์ประกอบได้โดยแบ่งภาพเราออกเป็น 9 ช่อง แล้วเลือกจุดสนใจที่เป็นจุดตัดกัน ซึ่งจะมี 4 จุดตด้วยกัน  การวางจุดสนใจในลักษณะนี้ทำให้ภาพของเรามีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

Comments are closed.