การวางแผนการพัฒนาและการติดตามความก้าวหน้า

0
1029

การวางแผนพัฒนา

ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น แต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดที่ต้องจัดลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรคนและเวลา เป็นไปอย่างเหมาะสม รวมถึงต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน หากละเลยขั้นตอนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ทำให้การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเสร็จไม่ทันเวลา หรือมีการทำงานบางอย่างไม่ตรงตามที่ออกแบบไว้


การใช้งานการ์ดคัมบัง

ผู้ใช้จะนำการ์ดแต่ละใบมาติดไว้บนกระดาน ซึ่งแบ่งช่องในแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ เพื่อกำหนดแบ่งช่วงเวลาให้กับงานย่อยๆ ซึ่งไม่ได้มีข้อกำหนดที่แน่นอน อาจขึ้นอยู่กับการตกลงกันในทีมผู้พัฒนา สำหรับแอปพลิเคชั่นที่ไม่ซับซ้อนมาก อาจแบ่งออกเป็น 3 เฟส คือ

To do – ช่วงระยะที่จะทำ

Doing – ช่วงระยะที่กำลังทำ

Done – ช่วงระยะที่ทำเสร็จแล้ว

หากแอปพลิเคชั่นมีความซับซ้อนมาก อาจแยกกระดานออกเป็นหลายกระดานย่อย เพื่อจัดการแต่ละเรื่องได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้น เช่น กระดานสำหรับการสำรวจความต้องการผู้ใช้ การดานสำหรับการออกแบบแอพพลิเคชั่น กระดานสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชั่น และกระดานสำหรับการทดสอบ


เครื่องมือช่วยวางแผนและติดตามความก้าวหน้า

เทรลโล (Trello) เป็นแอปพลิเคชันที่นำมาใช้บริหารจัดการงานในรูปแบบกระดานคัมบังได้ง่าย ไม่ซับซ้อน รองรับการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสมัครใช้งานได้ทันทีผ่านทางเว็บไซต์ trello.com โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่มีการจำกัดจำนวนกระดานหรือจำนวนผู้ร่วมพัฒนา วิธีการใช้งานดังนี้

1. เข้าสู่เว็บไซต์ https://trello.com คลิกที่ “Sign Up” เพื่อสมัครสมาชิก


2. พิมพ์อีเมลที่ต้องการ (ในตัวอย่างเลือกใช้อีเมลของ Google)


3. เมื่อกรอกรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้วคลิกที่ “Create your account”


4. ขั้นตอนนี้ให้พิมพ์ชื่อทีม หรืออาจจะเป็นชื่อของโปรเจ็คที่เรากำลังทำอยู่ เลือกชนิดของทีม (ในตัวอย่างเลือกเป็นเกี่ยวกับการศึกษา) หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม “Continue”


5. ขั้นตอนนี้ผู้ให้บริการเสนอบริการแบบเสียเงิน แต่ในที่นี้เราใช้เพื่อการศึกษา และเป็นการทดลองใช้ จึงแนะนำให้เลือก “Start without Business Class”


6. คลิกที่ปุ่ม “Lets’ go!” เสร็จแล้วเข้าไปเช็คอีเมลที่เราใช้สมัคร เพื่อกดยืนยันการสมัคร

7. เริ่มต้นใช้งานด้วยการสร้างบอร์ด คลิกที่ “Create new board”


8. ตั้งชื่อบอร์ดงานของเรา (ในตัวอย่างตั้งชื่อว่า “Application1”) หลังจากนั้นทำการเลือกธีม และคลิกที่ปุ่ม “Create Board” แล้วรอสักครู่ เพียงเท่านี้ก็เริ่มใช้งานได้แล้ว


9. วิธีการใช้งานคือการบันทึก List ย่อยๆ ในแต่ละส่วน อาทิ To Do ก็คือสิ่งที่ต้องทำ บันทึก Doing คือสิ่งที่กำลัง และบันทึก Done คือสิ่งที่ทำเสร็จแล้ว


ซึ่งในแต่ละ List เราสามารถเพิ่ม Card ย่อยลงไปใน List ได้ ซึ่งภายใน card เราสามารถตั้งค่าได้หลากหลาย ทั้งใส่ description, add comment, add member, ใส่ labels, เพิ่ม checklist, ใส่ due date, และ attached file ที่เกี่ยวข้องเข้าไปได้ด้วย (สำหรับระบบแบบไม่เสียเงินตรงนี้จะถูกกำหนดไว้ไม่ให้ 1 ไฟล์เกิน 10MB)

นอกจากนี้ยังมี function อื่นๆ ใน actions อีก เช่น

– Move = ย้าย card นี้ไปที่ list อื่น

– Copy = สำเนา card นั้นขึ้นมาอีก 1 card โดยรายละเอียดต่างๆ ก็จะเหมือนกับ cardต้นฉบับ

– Subscribe = ลงชื่อไว้เพื่อให้มีการรายงานความเคลื่อนไหวของ card นี้

– Archive = เก็บ card นี้ไว้ใน Archive แต่หากต้องการลบทิ้งไปเลย


อ้างอิง : 
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 หน้า 3

Teacher Nu, “การพัฒนาแอปพลิเคชัน”, http://www.teachernu.com/ สืบค้นวันที่ 16 พ.ค. 63