เทคโนโลยีการสื่อสาร

1
9138

          ในปัจจุบันจะพบเห็นผู้คนส่วนใหญ่ใช้งานอินเตอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การแบ่งปันข้อมูล ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อป้องกันผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น



องค์ประกอบของการสื่อสาร

          องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลได้แก่ ผู้ส่ง ผู้รับ ข้อมูลข่าวสาร ตัวกลาง และข้อตกลงร่วมกัน(Protocol) ในการสื่อสาร เช่น การพูดคุยสื่อสารกันระหว่างนักเรียนและครูในชีวิตประจำวัน ผู้ส่งสารคือครู ผู้รับสารคือนักเรียน ข้อมูลข่าวสารคือสิ่งที่ครูพูด ตัวกลางคืออากาศ จอโปรเจ็กเตอร์ สำหรับข้อตกลงร่วมกันคือภาษาที่ใช้



ตัวอย่างการติดต่อสื่อสาร

ยุคโบราณ        นกพิราบ, คนส่งสาร, ควันไฟ

ค.ศ.1835        เซมัวล์ มอร์ส ประดิษฐ์รหัสมอร์สเพื่อใช้ส่งอักขระภาษาอังกฤษไปตามสายสัญญาณ

ค.ศ.1876        อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบล และโทมัส เอ วัตสัน ประดิษฐ์โทรศัพท์

ค.ศ.1888        มีการค้นพบคลื่นวิทยุ

ค.ศ.1958        สหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก

ค.ศ.1965        มีการพัฒนาอีเมล

ค.ศ.1967        สหรัฐอเมริกา พัฒนาเครือข่ายอาร์พาเน็ต เพื่อเชื่อมโยมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต

ค.ศ.1973        เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ เช่น Ethernet

ค.ศ.1979        โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 1 โดยประเทศญี่ปุ่นสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุด้วยระบบอะนาล็อก

ค.ศ.1987        Wi-Fi

ค.ศ.1990        โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 โดยประเทศฟินแลนด์สื่อสารผ่านคลื่นวิทยุด้วยระบบดิจิทัล สามารถส่งข้อความตัวอักษรได้

ค.ศ.1994        World Wide Web (www.) ถือกำเนิดขึ้นโดยทิม เบอร์เนอร์ส ลี

ค.ศ.1997        มีโปรแกรมแชทที่สามารถส่งรูปภาพ และวิดีโอได้

ค.ศ.2001        โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 โดยประเทศญี่ปุ่นสื่อสารกันแบบเห็นหน้าได้ ส่งข้อมูลภาพ เสียง เล่นเกมออนไลน์ได้

ค.ศ.2004        ถือกำเนิด Facebook โดย มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก

ค.ศ.2005        ถือกำเนิด Youtube โดยแซด เฮอร์ลีย์, สตีฟ เซน และยาวีด คาริม

ค.ศ.2006         ถือกำเนิด Twitter โดยบริษัทออปเวียส สหรัฐอเมริกา

ค.ศ.2009        โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 โดยประเทศสวีเดนและนอร์เวย์

ปัจจุบัน           โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 5



เครือข่ายคอมพิวเตอร์

          เครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านตัวกลางในการสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน, การแบ่งปันอุปกรณ์ในเครื่อง, การติดต่อสื่อสาร และการแบ่งปันแหล่งข้อมูลและความรู้

ชนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Network: PAN) เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานส่วนบุคคลแบบไร้สาย เช่น การใช้เทคโนโลยีบลูธูท (Bluetooth)

2. เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network: LAN) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งมมีทั้งแบบไร้สาย (Wireless LAN: WLAN) และใช้สาย (LAN)

3. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network: WAN) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่อยู่ในบริเวณที่ไกลกัน เช่น ระหว่างประเทศ จังหวัด เช่น ธนาคารที่มีการเชื่อมต่อสาขาย่อยทั่วประเทศเข้าด้วยกัน


ตัวกลาง

          ตัวกลางของการสื่อสารในนเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลจากต้นทาง ไปยังปลายทาง ตัวกลางมีทั้งแบบมีสายและไร้สาย ดังนี้

1. ตัวกลางแบบมีสาย (Wired Media)

– สายคู่บิดเกลียวแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือยูทีพี (Unshielded Twisted Pair: UTP)


– สายคู่บิดเกลียวแบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือเอสทีพี (Shielded Twisted Pair: STP)


– สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก สายใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา สายใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก สายใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สายใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Single-mode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)


– USB (Universal Serial Bus) คือ พอร์ท หรือช่องทางในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Printer, Modem , Mouse, Keyboard, Digital Camera เป็นต้น



2. ตัวกลางแบบไร้สาย (Wireless Media)

          เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 อุปกรณ์ขึ้นไปโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุแบบ บลูทูธ ไวไฟ เป็นต้น



อินเตอร์เน็ต

          เป็นเครือข่ายสาธารณะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ได้ การเชื่อมต่อทำได้หลายช่องทาง

องค์ประกอบที่สำคัญในการใช้ระบบอินเตอร์เน็ต

          – เลขที่อยู่ไอพี (IP Address) ทำหน้าที่เสมือนเลขที่ป้ายกำกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่มต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ถ้าเปรียบกับคนก็คือเลขประจำตัวประชาชน

          – ชื่อโดเมน (Domain Name) เป็นชื่อที่ใช้ระบุตัวตนของเครื่อง แทนการใช้เลขที่อยู่ไอพี ถ้าเปรียบกับคนก็คือชื่อที่ใช้เรียก

          ชื่อโดเมนประกอบด้วยหลายส่วน แต่ละส่วนจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (.) เช่น





อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562

tawan, “วิธีการเข้าสาย UTP (Unshielded Twisted Pair) กับขั้วต่อแบบ RJ45”, www.nidprotech.com, สืบค้นวันที่ 12 ส.ค. 62

รัตนาพร ใจออน, “ตัวกลางแบบมีสาย”, https://sites.google.com/a/damrong.ac.th/communicationandnetwork-witchayaporn-m-2-10/tawklang-baeb-mi-say, สืบค้นวันที่ 12 ส.ค. 62

ncsnetwork.com, “สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) คืออะไร”, http://www.ncsnetwork.com/tips_details.php?xid=12, สืบค้นวันที่ 12 ส.ค. 62

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “Universal Serial Bus”, https://th.wikipedia.org/wiki/Universal_Serial_Bus, สืบค้นวันที่ 12 ส.ค. 62