“การสร้างแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้ผู้ใช้อื่นใช้งาน มีหลากหลายรูปแบบ เช่น งานกราฟฟิก งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล เครื่องมือทำงาน สื่อการเรียนรู้ เกม เพราะเหตุใดแอปพลิเคชันบางอย่างถึงได้รับความนิยมมาก กว่าจะมาเป็นแอปพลิเคชันที่ดีต้องทำอย่างไร นอกจากสร้างตามความสนใจของผู้พัฒนาแล้ว ยังต้องสำรวจความต้องการของผู้ใช้ ออกแบบ สร้าง และทดสอบ เพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยโปรแกรม Scratch สามารถใช้เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้อย่างง่ายได้”
ทดลองสร้างเกมบวกเลขด้วย Scratch
สถานการณ์ : โปรแกรมจะสุ่มตัวเลขจำนวน 2 จำนวน ให้ผู้เล่นบวกเลขทั้งสองจำนวนแล้วพิมพ์คำตอบที่ถูกต้อง เมื่อพิจารณาสถานการณ์แล้ว สามารถดำเนินการได้ดังนี้
แบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย
วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
ข้อมูลเข้า : คำตอบของผู้เล่น
ข้อมูลออก : แสดงผลการตรวจสอบ โดยแสดงผลเป็นเครื่องหมายถูกหรือผิด
วิธีการตรวจสอบ : มีตัวอย่างดังนี้
เมื่อสุ่มจำนวน 2 จำนวน ได้ 2 และ 6 ผู้เล่นตอบว่า 8 จะแสดงเครื่องหมายถูก
เมื่อสุ่มจำนวน 2 จำนวน ได้ 3 และ 8 ผู้เล่นตอบว่า 10 จะแสดงเครื่องหมายผิด
การวางแผนการแก้ปัญหา
การออกแบบหน้าจอโปรแกรม จะนำเสนอตัวเลขจำนวน 2 จำนวน ให้ผู้เล่นนำเลขทั้ง 2 จำนวนมาบวกกันแล้วพิมพ์คำตอบที่ถูกต้อง ถ้าผู้เล่นพิมพ์คำตอบถูกต้องจะแสดงเครื่องหมายถูก
จากสถานการณ์และการแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย อาจกำหนดส่วนประกอบหน้าจอได้ดังนี้
(1) ตัวแปร num1 และ num2 จะทำการสุ่มตัวเลขขึ้นมาให้ผู้เล่นนำไปบวกกัน และตัวแปร score จะเก็บคะแนนขแงผู้เล่นไว้
(2) แสดงผลตัวแปร num1 และ num2 ให้ผู้เล่นนำไปบวกกัน
(3) ส่วนที่รับค่าคำตอบจากผู้เล่น
(4) เครื่องหมายถูก จะปรากฏขึ้นเมื่อผู้เล่นตอบถูก
เริ่มเขียนโปรแกรม
Sprite1
Button1
Button2
อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 หน้า 53