ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม

ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม

            การตรวจสอบโปรแกรมต้องมีขึ้นระหว่างการออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรม การตรวจทานโปรแกรม เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบถูกต้องตามตรรกะในการประมวลผล รวมทั้งคำสั่งโปรแกรมที่เขียนขึ้นสามารถแปลได้โดยปราศจากข้อผิดพลาดต่างๆ และสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

ตัวอย่างการตรวจสอบข้อผิดพลาด

เขียนโปรแกรมทายเลขคู่ เลขคี่ โดยผู้ใช้จะต้องตอบคำถามว่า 2 เป็นเลขคู่ใช่หรือไม่ ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้

โปรแกรมคำถามว่า “2 เป็นเลขคู่ใช่หรือไม่”
ถ้าผู้เล่นตอบ “ใช่” ตัวละครจะแสดงคำว่า “ถูกต้อง”
ถ้าผู้เล่นตอบ “ไม่ใช่” ตัวละครจะแสดงคำว่า “ผิด”

แต่โปรแกรมที่เขียนขึ้นมามีข้อผิดพลาด คือ เมื่อผู้ใช้ตอบ “ใช่” โปรแกรมจะแสดงข้อความทั้ง “ถูกต้อง” และ “ผิด”

การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม

         


เมื่อพบว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น สามารถหาข้อผิดพลาดโดยพิจารณาคำสั่งจากผังงาน (Flowchart) ที่ได้ออกแบบไว้ ดังนี้


จากการตรวจสอบ พบข้อผิดพลาดคือ เมื่อโปรแกรมรับคำตอบจากผู้ใช้แล้ว โดยถ้าคำตอบคือ “ใช่” จะแสดงคำว่า “ถูกต้อง” ถ้าคำตอบคือ “ไม่ใช่” จะแสดงคำว่า “ผิด” ซึ่งการตรวจสอบเงื่อนไขในลักษณะนี้ ต้องใช้คำสั่ง ถ้า…แล้ว…มิฉะนั้น แต่ในโปรแกรมใช้คำสั่ง ถ้า อย่างเดียว


การแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม

            หลังจากตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมแล้ว สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ ดังนี้