การแก้ปัญหาเชิงตรรกะ เป็นแบบทางเลือก ที่ต้องมีการตัดสินใจ หรือพิสูจน์ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อค้นหาคำตอบเป็นแบบเชิงวิเคราะห์ ที่สนใจถึงที่มาของความคิด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการอธิบายเหตุผลที่เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้น
การแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นการค้นหาคำตอบหาวิธีแก้ปัญหาหรือการทำงานนั้นให้สำเร็จโดยเริ่มจากการกำหนดคำถามเกี่ยวกับปัญหานั้นว่าเราจะแก้ปัญหาหรือทำงานนั้นให้สำเร็จได้อย่างไร
การให้เหตุผล (Reasoning) เป็นการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงานสำหรับการแก้ปัญหานั้นเราอาจเสนอวิธีการแก้ปัญหาโดยการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นข้อความ ซึ่งแสดงวิธีการแก้ปัญหาออกมาเป็นลำดับขั้นทำให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจนโดยแต่ละคันจะต้องพิจารณาเงื่อนไขหรือเหตุผลประกอบด้วย
ทำไมต้องคิดแก้ปัญหาอย่างมีตรรกะ
• เพราะทำให้เกิดโอกาสผิดพลาดน้อย
• เพราะเมื่อเกิดความเคยชินกับการคิดอย่างมีตรรกะ จะทำให้ไม่เชื่อเรื่องอะไรง่ายๆ
• เพราะจะทำให้ความคิดที่นำเสนอได้รับการยอมรับจากผู้อื่นมากขึ้น เนื่องจากฟังดูแล้วมีเหตุมีผลเหมาะสม
การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา
คำอธิบาย ในตัวอยางนี้เฉดสีของรูปสามเหลี่ยมในแถวมีความเข้มเพิ่มมากขึ้นจากซ้ายไปขวา เมื่ออาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าวในการพิจารณาจะเห็นว่าข้อ D เป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะข้อ D เป็นคำตอบเพียงข้อเดียวที่มีเฉดสีเข้มขึ้น
คำตอบ คือ แอปเปิ้ล เพราะเป็นการเรียงลำดับของผลไม้ไปเรื่อยๆ ดังภาพ
สถานการณ์ตัวอย่าง
ปอ ป่าน ปุ๊ นัดกันทำรายงานในวันเสาร์ โดยปอไม่ว่างเวลา 08.30 – 11.00 น ป่านต้องไปทำธุระให้แม่เวลา 10.00 – 13.00 น. และปุ๊ว่างเวลา 11. 00 -16.30 น. ทั้ง 3 คนต้องนัดกันเวลาใด จึงจะสามารถมาทำรายงานครบทุกคน
ก. 08.30 – 12.00 น.
ข. 10.00 – 14.00 น.
ค. 12.00 – 15.30 น.
ง. 13.30 – 16.30 น.
คำตอบ คือ ง. 13.30 – 16.30 น. เพราะเป็นช่วงเวลที่ทุกคนว่างพร้อมกัน
วิธีการแก้ปัญหาของแต่ละคนอาจมีวิธีการเหมือนกันหรือแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละคน แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าการแก้ปัญหามีขั้นตอนที่คล้ายกัน 2 ขั้นตอนดังนี้
1. การพิจารณาปัญหา คือ การทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดและพิจารณาว่าปัญหามีองค์ประกอบอะไรบ้าง
2. การวางแผนแก้ปัญหา คือ การกำหนดขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา และระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหาโดยการทำงานนี้อาจจะต้องทำซ้ำๆ จนแก้ได้สำเร็จ
อ้างอิง
ขั้นตอนการคิดและการแก้ปัญหาเชิงตรรกะ มหาวิยาลัยบูรพา
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)