1. การแก้ปัญหาจากเกมซูโดกุ
Sudoku (ออกเสียง “ซู – โด – กุ”) คือเกมปริศนาตัวเลข ที่ผู้เล่นต้องเลือกใส่ หมายเลขตั้งแต่ เลข 1 ถึงเลข 9 โดยมีเงื่อนไขว่าในแต่แถวและแต่ละหลักตัวเลขต้องไม่ซ้ำกัน ตารางซูโดะกุจะมี 9×9 ช่อง เมื่อเริ่มเกมจะมีตัวเลขบางส่วนให้มาเป็นคำใบ้ และผู้เล่นจะต้องใส่ทุกช่องที่เหลือให้ครบ โดยตามเงื่อนไขว่าแต่ละตัวเลขในแต่ละแถวและหลักจะใช้ได้ครั้งเดียว รวมถึงในแต่ละขอบเขตตารางย่อย การเล่นเกมนี้จำเป็นต้องใช้ความสามารถในด้าน ตรรกะ และความอดทนรวมถึงสมาธิ เกมนี้เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2522 ในชื่อ นัมเบอร์เพลส (Number Place) แต่เป็นที่นิยมและโด่งดังในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ ซูโดะกุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และเป็นที่นิยมทั่วโลกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548
กติกาการเล่นเกมซูโดกุ
- ทุกแถวในแนวนอน ต้องมีตัวเลข 1 – 9 และต้องไม่ซ้ำกัน
- ทุกแถวในแนวตั้ง ต้องมีตัวเลข 1 – 9 และต้องไม่ซ้ำกัน
- ทุกตารางย่อย 3 x 3 ต้องมีตัวเลข 1 – 9 และต้องไม่ซ้ำกัน
เทคนิคและวิธีการเล่นเบื้องต้น
1. เทคนิค “เลขตัวสุดท้าย” ที่สามารถเติมลงไปในช่องว่างได้ โดยไม่ซ้ำกับช่องอื่น
2.เทคนิค “หนึ่งเดียวในแนวนอน-แนวตั้ง” เมื่อเรามองตารางเห็นเลขในแนวตอนกับแนวตั้งแล้วจะต้องมีเลขที่ไม่ซ้ำกัน จึงเติมตัวเลขที่เหลือลงไปได้เลย
3. เทคนิค “จดเพื่อเลือก” คือการใช้ดินสอ จดตัวเลขที่เป็นไปได้ลงไปก่อน แม้ว่าจะยังไม่ได้คำตอบที่แน่นอน เพื่อเตรียมใช้กลยุทธ์อื่นๆต่อ โดยตัดทางเลือกให้เหลือคำตอบที่แน่นอน เพียงตัวเดียว
ประโยชน์ของการเล่นเกมซูโดกุ
- เป็นเกมส์ที่เล่นได้ตั้งทุกวัยตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ เพราะมีการแบ่งระดับความยากง่ายและไม่ต้องใครความรู้ความสามารถอะไรมาก
- ฝึกการสังเกต การใช้สายตา เพราะต้องมองตัวเองในตารางและหาความสัมพันธ์ของเลขแต่ละช่อง
- เป็นเกมส์ที่ทุกคนในครอบครัวสามารถเล่นร่วมกันหรือแข่งกันกันได้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ด้วย
- สามารถเล่น Sudoku ได้ทุกทีทุกเวลาเพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์การเล่นที่เยอะเหมือนเกมส์อื่นๆ
- ฝึกความอดทน ฝึกสมาธิ
2. การแก้ปัญหาแบบมีลำดับขั้นตอน
การแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนนั้นสามารถทำได้ยาก การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อยๆ จะช่วยให้ความซับซ้อนของปัญหาลดลง ช่วยให้การวิเคราะห์และพิจารณารายละเอียดของปัญหาทำได้อย่างถี่ถ้วน ส่งผลให้สามารถออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหาย่อยแต่ละปัญหาได้ง่ายยิ่งขึ้น
จากตาราง ให้นักเรียนระบายสีตามเงื่อนไขที่กำหนดดังต่อไปนี้
(B,1) , (C,1) , (D,1) , (B,2) , (B,3) , (C,3) , (B,4) , (B,5) , (C,5) , (D,5)
รูปที่ได้คือ
ถ้านักเรียนต้องการให้เพื่อนระบายสีตามรูปต่อไปนี้
คำสั่งที่จะกำหนดให้เพื่อนระบายสี คือ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
อ้างอิง
เดชาธร ยะนันท์,บริหารสมองด้วย “Sudoku” ,สืบค้นจากเว็บไซต์ http://blog.dechathon.com/sudoku/ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562