ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์

การสร้างเว็บไซต์นั้นมีขั้นตอนและองค์ประกอบหลายอย่าง เนื่องจากเว็บไซต์เป็นการแสดงผลข้อความ รูปภาพ กราฟ ตาราง และวิดีโอ ให้ผู้อื่นเข้าชมได้แบบออนไลน์ ดังนั้นเรามาเรียนรู้กันว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง

1. โดเมน (Domain)

โดเมน (Domains) คือ ที่อยู่ของเว็บไซต์ของเราที่ผู้ใช้งานสามารถพิมพ์เพื่อค้นหาเว็บของเราได้ ประกอบด้วยชื่อโดเมนตามด้วยนามสกุลโดเมน

ตัวอย่างเช่น kru-it.com ที่มีชื่อโดเมนคือ kru-it นามสกุลโดเมนคือ .com ซึ่งคุณสามารถตั้งชื่อโดเมนว่าอะไรก็ได้หากยังไม่ซ้ำกับคนอื่น ส่วนนามสกุลโดเมนก็มีให้เลือกหลากหลาย เช่น .com .org .net ดังภาพด้านล่าง

วิธีการจดโดเมน (Domain)

1. คิดชื่อโดเมน

อันดับแรกที่เราต้องทำก็คือการคิดชื่อ Domain Name ของเราว่าต้องการชื่อว่าอะไร ซึ่งควรเป็นชื่อที่สั้นและจดจำง่าย ทำให้ผู้คนค้นหาได้ง่ายในภายหลัง เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ ไม่ใช้ภาษาไทย เพราะจะทำให้ชื่อโดเมนเป็นภาษาต่างดาวเวลาคัดลอกไปวางในที่อื่น ใช้นามสกุลโดเมนที่นิยม ได้แก่ .com เพราะทำให้คนจดจำได้ง่ายไม่สับสน

2. เลือกผู้ให้บริการจดโดเมน

มีผู้ให้บริการมากมายในการจดโดเมน ซึ่งราคาจะแตกต่างกันไป บางเจ้าถูกบางเจ้าแพง และให้ฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่มีข้อแนะนำคือ ผู้ให้บริการนั้นๆ ควรจะมีบริการ WhoisGuard ให้ฟรี (บริการ WhoisGuard เป็นบริการที่จะปกป้อง ข้อมูลโดเมนเนมของเรา เช่น ชื่อ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทร)


2. โฮสติ้ง (Hosting)

โฮสติ้งเป็นบริการที่ช่วยเก็บเนื้อหาและข้อมูลต่างๆ ของเว็บไซต์ของเราบนคอมพิวเตอร์พิเศษที่เรียกว่า “เซิร์ฟเวอร์ : Server” เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการดูเว็บไซต์ของเราสิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำคือพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์หรือโดเมนของเราลงในเว็บเบราว์เซอร์ จากนั้นคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานก็จะเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์หรือ hosting ที่เราเช่าไว้และหน้าเว็บของเราจะถูกส่งไปผู้ใช้เขาผ่านเบราว์เซอร์


3. สร้างหน้าเว็บไซต์

การสร้างหน้าเว็บไซต์สามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยอาจจะสร้างขึ้นมาจาก HTML ตามบทเรียนที่เราจะได้เรียนในบทถัดไป หรือจะใช้ CMS เข้ามาช่วยให้การสร้างเว็บไซต์ง่ายขึ้นก็ได้

CMS คืออะไร

CMS ย่อมาจาก Content Management System คือระบบจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ เช่น บทความ รูปภาพ วิดีโอ หรือสินค้า ฯลฯ อธิบายแบบละเอียดขึ้นอีกนิด CMS คือก็คือ ระบบที่ช่วยให้คนที่ทำเว็บไซต์สามารถสร้าง แก้ไข และจัดการเนื้อหาได้แบบรวดเร็ว โดยไม่ต้องเขียนโค้ดใหม่เองเวลาที่ต้องการอัปเดตข้อมูล ระบบ CMS จะมีทั้งระบบ Backend ที่เป็นส่วนของการจัดการเนื้อหา และ Frontend ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงผลอยู่บนหน้าเว็บไซต์มาให้แบบแยกจากกัน เวลาแก้ไขข้อมูลจึงไม่กระทบกับโครงสร้างหรือหน้าตาของเว็บไซต์ ทำให้ไม่ต้องจ้างนักพัฒนาเว็บไซต์ทุกครั้งที่ต้องแก้ไขเนื้อหา แถมยังเพิ่มฟีเจอร์ ปรับแต่งดีไซน์ และพัฒนาเว็บไซต์ได้ง่ายมากๆ


4. เผยแพร่เว็บไซต์

ขั้นตอนนี้คือการนำองค์ประกอบข้างตั้นทั้ง 3 ข้อมาประกอบเข้าด้วยกัน ก่อนอื่นต้องนำโดเมนเนมมาแม็ปเข้ากับโฮสติ้งเข้าเรา เสร็จแล้วนำก้อนข้อมูลทั้งหมดของเว็บไซต์ที่เราสร้างมาอัปโหลดขึ้นไปไว้บนโฮสติ้ง เพียงเท่านี้ผู้ใช้งานก็สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้แล้ว


อ้างอิง

sakkarin, “สอนวิธีทำเว็บไซต์ฟรี 2021”, https://mustketing.com/how-to-create-a-website/, สืบค้นวันที่ 22 เม.ย. 2568

ไอซ์ – ศิริพงษ์ กลิ่นขจร, “CMS คืออะไร? เจาะลึกองค์ประกอบ ข้อดี และ 5 CMS ยอดนิยม ช่วยให้เว็บไซต์ติด SEO เร็วขึ้น!”, https://nerdoptimize.com/website/what-is-cms/, สืบค้นวันที่ 22 เม.ย. 2568

Anucha, “นามสกุลโดเมนเนมแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?”, https://www.hostinglotus.com/, สืบค้นวันที่ 22 เม.ย. 2568