เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) หมายถึง เทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักรให้มีคุณลักษณะทางด้านสติปัญญาและความฉลาดเหมือนมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์กรและประโยชน์อีกหลากหลายประเภท ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะถูกใช้ร่วมกับเทคโนโลยี Cloud Computing และ Big Data ซึ่งทำให้เกิดการส่งถ่ายข้อมูลไปมาระหว่างเครื่องจักรในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หลักการทำงานของ AI
1. รวบรวมข้อมูล: AI จะเริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูล จากแหล่งต่างๆ เช่น Database, Sensors, Images, Text
2. ประมวลผลข้อมูล: AI จะนำข้อมูลที่รวบรวมได้ มาวิเคราะห์ และ ประมวลผล ด้วย Algorithms และ Machine Learning
3. เรียนรู้และพัฒนา: AI จะเรียนรู้จากข้อมูล และประสบการณ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และความแม่นยำในการทำงาน
ตัวอย่าง AI ใกล้ตัว
- Siri และ Google Assistant: ผู้ช่วยเสมือน ที่ตอบคำถาม และ สั่งงานด้วยเสียง
- Netflix และ Spotify: ระบบแนะนำ Movies และ Music ตามความชอบ
- Facebook และ Instagram: ระบบจดจำใบหน้า และ Personalized Ads
ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์
การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในระบบงานต่างๆ ขององค์กร นอกจากจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพของระบบงานที่ต้องการได้แล้ว ปัญญาประดิษฐ์ยังส่งผลต่อการทำงานในภาพรวมขององค์กร ได้เป็นอย่างดี และยังสร้างประโยชน์ในด้านต่างๆอีกมากมาย ได้แก่
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
ความก้าวหน้าของวิทยาการเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ทำให้ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบาย มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้มนุษย์มีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น และมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างนวัตกรรมรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Self-Driving Car) รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือในอีกชื่อหนึ่ง เรียกว่ารถยนต์ไร้คนขับ นับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Google, Apple, Uber และ Baidu เข้ามามีบทบาทในการพัฒนา

หุ่นยนต์ (Robotic)
เป็นการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ส าหรับพัฒนาเครื่องจักรกลให้มีความสามารถและฉลาดพอที่จะทำหน้าที่แทนมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการสร้างเครื่องจักรให้มีระบบการทำงานแบบอัตโนมัติที่มีความใกล้เคียงกับแรงงานมนุษย์ โดยทั่วไปนิยมใช้กับเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับทำงานในด้านต่างๆ แทนมนุษย์ เพื่อความปลอดภัยจากงานที่เสี่ยงอันตราย หรือเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์กับเครื่องจักร

หุ่นยนต์ ASIMO ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการควบคุม
การสั่งงานด้วยเสียง
ตั้งแต่การสอบถามเส้นทางไปร้านอาหารโปรด จนถึงการสอบถามพยากรณ์อากาศประจำวัน ผู้ช่วยในการสั่งงานด้วยเสียงกลายเป็นสิ่งที่หลายๆ คนขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างผู้ช่วยในการสั่งงานด้วยเสียง ได้แก่ Siri, Alexa, Google home จนถึง Cortana โดยเครื่องมือเหล่านี้ใช้ระบบการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) โดยเทคโนโลยี AI จะประมวลผล และตอบคำถามให้กับผู้ใช้งาน

อุปกรณ์สมาร์ทโฮม
จากบ้านปกติกลายเป็นบ้านที่ “ฉลาด”มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี AI หลายๆบ้านอาจจะคุ้นเคยกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะ เช่น Nest ที่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับอุณหภูมิตามความชอบของเจ้าของบ้าน รวมถึงตู้เย็นอัจฉริยะที่สามารถบอกได้ว่าของอะไรบ้างที่คุณต้องการ แต่ตอนนี้ไม่มีของนั่นอยู่ในตู้เย็น รวมถึงยังสามารถแนะนำประเภทของไวน์ที่จะเข้ากับมื้อเย็นของคุณให้ได้อีกด้วย

ผลกระทบของเทคโนโลยี
1. ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้น วางแผนการ โจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลข บัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง
2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาก
3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวล ว่าคอมพิวเตอร์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้น มีการใช้งานหุ่นยนต์ มาใช้งานมากขึ้น
4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล
5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยี สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงครามที่มี การทำลายสูงเกิดขึ้น
6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
อ้างอิง
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล “รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ” จากเว็บไซต์ https://www.scimath.org/article-technology/item/9108-2018-10-18-08-40-06 สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2563
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) คืออะไร หลักการทำงาน และการใช้ในอุตสาหกรรม จากเว็บไซต์ https://www.dia.co.th/articles/what-is-artificial-intelligence/ สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568
ธิติสุดา สายสิงห์ “ผลกระทบของเทคโนโลยี” จากเว็บไซต์ https://earnnoii.wordpress.com สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568