เทคโนโลยีการสื่อสาร

0
2892

ในปัจจุบันจะพบเห็นผู้คนส่วนใหญ่ใช้งานอินเตอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การแบ่งปันข้อมูล ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อป้องกันผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น


องค์ประกอบของการสื่อสาร

องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลได้แก่ ผู้ส่ง ผู้รับ ข้อมูลข่าวสาร ตัวกลาง และข้อตกลงร่วมกัน(Protocol) ในการสื่อสาร เช่น การพูดคุยสื่อสารกันระหว่างนักเรียนและครูในชีวิตประจำวัน ผู้ส่งสารคือครู ผู้รับสารคือนักเรียน ข้อมูลข่าวสารคือสิ่งที่ครูพูด ตัวกลางคืออากาศ จอโปรเจ็กเตอร์ สำหรับข้อตกลงร่วมกันคือภาษาที่ใช้


ตัวอย่างการติดต่อสื่อสาร

ยุคโบราณ          นกพิราบ, คนส่งสาร, ควันไฟ

ค.ศ.1835          เซมัวล์ มอร์ส ประดิษฐ์รหัสมอร์สเพื่อใช้ส่งอักขระภาษาอังกฤษไปตามสายสัญญาณ

ค.ศ.1876          อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบล และโทมัส เอ วัตสัน ประดิษฐ์โทรศัพท์

ค.ศ.1888          มีการค้นพบคลื่นวิทยุ

ค.ศ.1958          สหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก

ค.ศ.1965          มีการพัฒนาอีเมล

ค.ศ.1967          สหรัฐอเมริกา พัฒนาเครือข่ายอาร์พาเน็ต เพื่อเชื่อมโยมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต

ค.ศ.1973          เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ เช่น Ethernet

ค.ศ.1979          โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 1 โดยประเทศญี่ปุ่นสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุด้วยระบบอะนาล็อก

ค.ศ.1987          Wi-Fi

ค.ศ.1990          โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 โดยประเทศฟินแลนด์สื่อสารผ่านคลื่นวิทยุด้วยระบบดิจิทัล สามารถส่งข้อความตัวอักษรได้

ค.ศ.1994          World Wide Web (www.) ถือกำเนิดขึ้นโดยทิม เบอร์เนอร์ส ลี

ค.ศ.1997          มีโปรแกรมแชทที่สามารถส่งรูปภาพ และวิดีโอได้

ค.ศ.2001          โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 โดยประเทศญี่ปุ่นสื่อสารกันแบบเห็นหน้าได้ ส่งข้อมูลภาพ เสียง เล่นเกมออนไลน์ได้

ค.ศ.2004          ถือกำเนิด Facebook โดย มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก

ค.ศ.2005          ถือกำเนิด Youtube โดยแซด เฮอร์ลีย์, สตีฟ เซน และยาวีด คาริม

ค.ศ.2006          ถือกำเนิด Twitter โดยบริษัทออปเวียส สหรัฐอเมริกา

ค.ศ.2009          โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 โดยประเทศสวีเดนและนอร์เวย์

ปัจจุบัน             โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 5


เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านตัวกลางในการสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน, การแบ่งปันอุปกรณ์ในเครื่อง, การติดต่อสื่อสาร และการแบ่งปันแหล่งข้อมูลและความรู้


ชนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Network: PAN) เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานส่วนบุคคลแบบไร้สาย เช่น การใช้เทคโนโลยีบลูธูท (Bluetooth)

2. เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network: LAN) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งมมีทั้งแบบไร้สาย (Wireless LAN: WLAN) และใช้สาย (LAN)

3. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network: WAN) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่อยู่ในบริเวณที่ไกลกัน เช่น ระหว่างประเทศ จังหวัด เช่น ธนาคารที่มีการเชื่อมต่อสาขาย่อยทั่วประเทศเข้าด้วยกัน


ตัวกลาง

ตัวกลางของการสื่อสารในนเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลจากต้นทาง ไปยังปลายทาง ตัวกลางมีทั้งแบบมีสายและไร้สาย ดังนี้

1. ตัวกลางแบบมีสาย (Wired Media)

– สายคู่บิดเกลียวแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือยูทีพี (Unshielded Twisted Pair: UTP) 


– สายคู่บิดเกลียวแบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือเอสทีพี (Shielded Twisted Pair: STP)


– สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก สายใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา สายใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก สายใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สายใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Single-mode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)


– USB (Universal Serial Bus) คือ พอร์ท หรือช่องทางในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Printer, Modem , Mouse, Keyboard, Digital Camera เป็นต้น


2. ตัวกลางแบบไร้สาย (Wireless Media)

เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 อุปกรณ์ขึ้นไปโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุแบบ บลูทูธ ไวไฟ เป็นต้น


อินเตอร์เน็ต

เป็นเครือข่ายสาธารณะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ได้ การเชื่อมต่อทำได้หลายช่องทาง

องค์ประกอบที่สำคัญในการใช้ระบบอินเตอร์เน็ต

            – เลขที่อยู่ไอพี (IP Address) ทำหน้าที่เสมือนเลขที่ป้ายกำกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่มต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ถ้าเปรียบกับคนก็คือเลขประจำตัวประชาชน

            – ชื่อโดเมน (Domain Name) เป็นชื่อที่ใช้ระบุตัวตนของเครื่อง แทนการใช้เลขที่อยู่ไอพี ถ้าเปรียบกับคนก็คือชื่อที่ใช้เรียก

            ชื่อโดเมนประกอบด้วยหลายส่วน แต่ละส่วนจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (.) เช่น