เขียนโปรแกรมควบคุมหลอดไฟ LED

0
1039

บอร์ด IPST-WiFi มีไฟ RGB ติดตั้งอยู่ในบอร์ด โดยมีตำแหน่งอยู่เหนือจอแสดงผล OLED ไฟ LED มีจำนวน 3 หลอด โดยนับจากในสุดเป็นหลอดที่ 0 ตรงกลางคือหลอดที่ 1 และนอกสุด(ซ้ายมือ) คือหลอดที่ 2 โดยการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมไฟ LED ทั้ง 3 หลอดนี้ชุดคำสั่งจะอยู่ในหมวดหมู่ Output ในส่วนของ SLED


บล็อกคำสั่ง SLED ของโปรแกรม microBlock IDE

ในโปรแกรม microBlock IDE มีชุดคำสั่งเพื่อควบคุมการทำงานของ LED ทั้ง 3 หลอด โดยกลุ่มบล็อกคำสั่งดังกล่าวอยู่ในส่วนของ Output หมวดหมู่ SLED โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. SLED setup

ตั้งค่าการทำงานของ SLED ที่อยู่บนบอร์ด IPST-WIFI


2. SLED number set color

ใช้กำหนดสีของ SLED ที่อยู่บนบอร์ด IPST-WIFI แต่ละดวง โดยหมายเลข 2 คือดวงที่อยู่ซ้ายมือสุด(ดวงนอก)


3. SLED number set color Red: Green: Blue:

ใช้กำหนดค่าสีให้ SLED แต่ละดวงอย่างอิสระ โดยกำหนดค่าสีแบบ RGB แต่ละสี โดยปรับค่าได้ 0 ถึง 255 (ส่วนนี้นักเรียนต้องมีความรู้เรื่องของการผสมแม่สี)


4. SLED fill color

เติมสีทั้งหมดของ SLED ที่อยู่บนบอร์ด IPST-WIFI (ไฟติดทั้ง 3 ดวง)


5. SLED fill color Red: Green: Blue:

เติมสีทั้งหมดของ SLED ที่อยู่บนบอร์ด IPST-WIFI ไฟติดทั้ง 3 ดวง โดยสามารถผสมสีได้เอง ปรับค่าได้ 0 ถึง 255 (ส่วนนี้นักเรียนต้องมีความรู้เรื่องของการผสมแม่สี)


6. SLED show

เปิดการแสดงผลของ SLED ที่อยู่บนบอร์ด IPST-WIFI


7. SLED clear

ล้างการแสดงผลของ SLED ที่อยู่บนบอร์ด IPST-WIFI


8. SLED rainbow with wait

แสดงแสงสีรุ้งของ SLED ที่อยู่บนบอร์ด IPST-WIFI โดยไฟทุกดวงจะติดแล้วสลับสีไปเรื่อยๆ (สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง) สามารถปรับความเร็วได้ตามต้องการ มีหน่วยเป็นมิลลิวินาที


9. SLED set brightness

ปรับความสว่างของ SLED ที่อยู่บนบอร์ด IPST-WIFI ปรับความสว่างได้ตั้งแต่ 0 ถึง 100% โดยปกติจะวางบล็อกคำสั่งนี้ไว้ด้านบน


ไฟจราจร

ทดลองเขียนโปรแกรมจำลองการทำงานของไฟจราจร โดยกำหนด SLED ติดครั้งละ 1 ดวง เริ่มจาก SLED ดวงหมายเลข 0 เปร่งแสงสีแดง 2 วินาที ถัดมา SLED หมายเลข 1 เปร่งแสงสีเหลือง 2 วินาที และ SLED หมายเลข 2 เปร่งแสงสีเขียว 2 วินาที โดยมีบล็อกคำสั่งดังนี้


แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

1. ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมไฟจราจร โดยให้ไฟจราจรติดพร้อมกันทั้ง 3 ดวง โดยเปร่งแสงสีแดง 2 วินาที เปร่งแสงสีเหลือง 2 วินาที และเปร่งแสงสีเขียว 2 วินาที

2. ให้นักเรียนใช้บอร์ด IPST-WiFi จำนวน 4 บอร์ด แล้วจำลองสถานการณ์สี่แยกไฟแดงจริงๆ โดยหน่วงเวลาให้เหมาะสม