วันนี้ครูไอทีมาแนะนำหลักสูตรอบรมออนไลน์สำหรับครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นโดย สสวท. มีหลักสูตรอะไรบ้าง มาดูกันเลย……
สำหรับครูคณิตศาสตร์
หลักสูตร การใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad 5.06 หลักสูตรที่ 1 พื้นฐานการใช้งานที่เน้นเรขาคณิต
รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร
หลักสูตรการอบรมนี้เหมาะสําหรับครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์หรือผู้สนใจที่เริ่มใช้งานโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ซึ่งจะสอนการใช้งานที่เน้นเรขาคณิต โดยมีการแนะนำกล่องเครื่องมือและเมนูการใช้งานต่าง ๆ และยังมีกิจกรรมในการฝึกใช้งานกล่องเครื่องมือและเมนู เพื่อเพิ่มความคล่องแคล่วในการใช้งานโปรแกรมมากยิ่งขึ้น
หลักสูตรนี้เน้นการดูวิดีโอคลิป เพื่อศึกษาการทำงานของกล่องเครื่องมือและเมนู ลงมือปฏิบัติผ่านการทำกิจกรรม ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ได้ทุกระดับชั้น
*สำหรับการอบรมนี้ ได้จัดเรียงเนื้อหาตามความสำคัญก่อนหลัง ผู้เรียนควรวางแผนในการเรียนให้ทันภายในช่วงเวลาเปิดหลักสูตร
**สำหรับแบบฝึกหัด มีไว้เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมฝึกใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา ไม่ต้องส่งกลับ เนื่องจากไม่มีการคิดคะแนน
***ผู้เข้าอบรมต้องเข้าตอบคำถามในหัวข้อ “บอกวิทยากรหน่อย…” ทุกหัวข้อ เพื่อให้สามารถจัดพิมพ์เกียรติบัตรได้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้พื้นฐานในการใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad 5.06 ที่เน้นเรขาคณิต
2. เพื่อให้ครูผู้สอนที่เข้ารับการอบรมสามารถนําความรู้ไปใช้ในการสร้างสื่อการสอน หรือใช้ประกอบการสอนในห้องเรียนได้
จำนวนชั่วโมงเรียน
42 ชั่วโมง
ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับการอบรม
รับสมัคร: 1 มีนาคม – 31 มีนาคม 2567
อบรม: 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2567
สำหรับครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ข้อมูลด้วยอุตุน้อยแบบออนไลน์
ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร
อบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ข้อมูลด้วยอุตุน้อยแบบออนไลน์ มีเนื้อหาประกอบด้วย 12 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อุตุน้อย เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ ที่จะประกอบเป็นสถานีอุตุน้อย การเขียนโปรแกรม ทดสอบโปรแกรม และการทดสอบอุปกรณ์ รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์สถานีอุตุน้อย
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สภาพอากาศบ้านฉัน เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานีวัด และจัดการข้อมูลด้วยเว็บแอปพลิเคชันเรียนรู้ข้อมูล
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สำรวจความต่าง เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้วิทยาการข้อมูลในการสำรวจ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และนำเสนอข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพภูมิกาศในแต่ละภูมิภาคของประเทศ
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เที่ยวด้วยกัน เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดเตรียมข้อมูลก่อนการประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างทางเลือกในการตัดสินใจโดยใช้ประโยชน์จากข้อมูล
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 นักข่าวน้อยพยากรณ์ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการนำความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอด้วยภาพให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างสร้างสรรค์
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ยุงไม่กวน…ชวนวิเคราะห์ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสำรวจข้อมูล นำเสนอข้อมูล อภิปรายผล และใช้ประโยชน์จากผลลัพธ์ของข้อมูลในการวางแผน แก้ปัญหาให้กับชุมชน หรือสังคม
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย (Season Change) เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการนำความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและโลก
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 นโยบายยางพารา เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรมภาษา และใช้ประโยชน์จากข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ลองเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิหลายแหล่ง จัดเตรียม วิเคราะห์ข้อมูล และทำข้อมูลให้เป็นภาพด้วยการเขียนโปรแกรมภาษา
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 พิรุณหรรษา เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการทำนาย หรือคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลและการเขียนโปรแกรม
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 เมฆาพยากรณ์ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการทำนาย หรือคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลและการเขียนโปรแกรม
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 พลังงานแสงอาทิตย์ทำอย่างไรให้พอเพียง เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูล และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการแก้ปัญหาและการทำงานในชีวิตจริง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลในการสำรวจ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และนำเสนอข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพภูมิกาศในแต่ละภูมิภาคของประเทศ
- ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลในการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูล อภิปรายผล และใช้ประโยชน์จากผลลัพธ์ของข้อมูลในการวางแผน แก้ปัญหาให้กับชุมชน หรือสังคม
- ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และสามารถถ่ายทอดให้กับผู้เรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ได้
จำนวนชั่วโมงเรียน
20 ชั่วโมง ผ่านการรับรองหลักสูตรจาก ก.ค.ศ.แล้ว รหัสหลักสูตร 65078
เกณฑ์การผ่านการอบรม
เกณฑ์การผ่านมีคะแนนรวมอยู่ที่ 80% ขึ้นไป
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
เหมาะสำหรับครูผู้สอนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับมัธยมศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกวิชา ทุกสังกัดหน่วยงาน หรือผู้ที่สนใจทั่วไป
ภาระงาน
ศึกษาบทเรียนผ่านคลิปวีดิทัศน์ ทำแบบฝึกหัดท้ายคลิปทุกหัวข้อและทำแบบทดสอบประจำหลักสูตร ซึ่งสามารถกดส่งคำตอบได้ไม่เกิน 2 ครั้ง โดยระบบจะใช้คะแนนจากการส่งคำตอบครั้งล่าสุด
สำหรับครูคอมพิวเตอร์
หลักสูตรการรู้ดิจิทัล
เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาความรู้เกี่ยวกับการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy)
- แนะนำหลักสูตรอบรมออนไลน์การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy)
- นิเวศสื่อและทักษะในศตวรรษที่ 21
- การสื่อสารอย่างชาญฉลาด
- ความฉลาดทางดิจิทัล
- รู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์
- การเตรียมตัวสู่ยุคดิจิทัล
จำนวนชั่วโมงเรียน
12 ชั่วโมง
เกณฑ์การผ่านการอบรม
เกณฑ์การผ่านมีคะแนนรวมแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ 70% ขึ้นไป
-แบบฝึกหัดกิจกรรม 80% (ทำแบบฝึกหัดได้ 3 ครั้ง)
-แบบทดสอบประจำวิชา 20% (ทำแบบทดสอบได้ 3 ครั้ง)
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
- เป็นครูผู้สอนทุกวิชา ทุกระดับชั้น หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจความรู้เกี่ยวกับการรู้ดิจิทัล
- มีความพร้อมในการเข้าร่วมศึกษาและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระบบการอบรม จนจบหลักสูตร