การทำงานของโปรแกรมแบบทำซ้ำ

0
333

         การทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) เป็นการนำคำสั่งมาทำงานซ้ำหลายๆ รอบ จะทำงานกี่รอบขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเป็นการกำหนดจำนวนรอบที่แน่นอน เช่น ตั้งใจว่าจะวิ่งรอบสนาม 3 รอบ คือรู้แน่นอนว่าจะทำงานกี่รอบ หรือแบบจำนวนรอบไม่แน่นอน เช่น ตั้งใจว่าจะวิ่งรอบสนามไปเรื่อยๆ เหนื่อยเมื่อไหร่จึงจะหยุดวิ่ง คือไม่แน่ชัดว่าจะทำงานกี่รอบ

ตัวอย่างกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ทำแบบวนซ้ำ

     

          สิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานแบบวนซ้ำในการเขียนโปรแกรมคือ เงื่อนไข โดยเงื่อนไขจะเป็นตัวกำหนดว่าจะมีการเข้าไปทำงานหรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้าไปทำงาน เมื่อทำงานเสร็จแล้วก็จะมาตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้ง และก็จะทำงานไปเรื่อยๆ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงอยู่เสมอ โปรแกรมจะหยุดทำงานก็ต่อเมื่อผลการตรวจสอบเงื่อนไขในรอบใดรอบหนึ่งเป็นเท็จ

กิจกรรมฝึกทักษะ

เขียนโปรแกรมเพื่อให้หุ่นยนต์เดินไปเก็บขนมทั้งหมดที่ปรากฏบนแผนที่

แผนที่

หมายเหตุ หุ่นยนต์จะเก็บขนมที่มีในช่องโดยอัตโนมัติ


โปรแกรมที่ได้
ลำดับบัตรคำสั่งแบบที่ 1 (ให้ลำดับบัตรคำสั่ง โดยไม่ใช้บัตรคำสั่งวนซ้ำ)

บัตรคำสั่งใดที่มีการทำงานซ้ำกัน และซ้ำกันจำนวนกี่รอบ
…………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………..

ลำดับบัตรคำสั่งแบบที่ 2 เติมข้อความให้สมบูรณ์


การเขียนโปรแกรมสั่งให้ตัวละครทำงานแบบวนซ้ำ ในโปรแกรม Code.org

Code.org – คอร์ส 3: เขาวงกต #4

ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม



อ้างอิง

“หลักการเขียนโปรแกรมแบบมีการทำซ้ำ” จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/pogmt22042107/hnwy-thi-5-kar-kheiyn-porkaerm-baeb-mi-kar-tha-sa-loop/5-1-hlak-kar-kheiyn-porkaerm-baeb-mi-kar-tha-sa สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563

รัตนา วงศ์ภูงา “โครงสร้างการทำงานแบบวนซ้ำ” จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/a/wwk.ac.th/googlesites/khorngsrang-kar-thangan-baeb-wn-sa สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563