ประโยชน์และโทษในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งคุณและโทษ นักเรียนต้องศึกษาเพื่อใช้งานได้อย่างรู้เท่าทัน และสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัยในสังคมปัจจุบัน นอกจากนนี้ยังต้องสามารถเลือกและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์และมีจริยธรรม
เทคโนโลยี คือ การประยุกต์เอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคมตลอดจนการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์ การศึกษา การค้า และอุตสาหกรรม
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ...
การรู้เท่าทันสื่อ
การรู้เท่าทันสื่อ คือ ความสามารถป้องกันตนเองจากการถูกจูงใจจากเนื้อหาของสื่อการสามารถวิเคราะห์เนื้อหาของสื่ออย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้สามารถควบคุมการตีความเนื้อหาของสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย นั่นคือ การที่เราไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และรู้จักตั้งคำถาม
https://www.youtube.com/watch?v=hRW04iwV1rc
5 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อที่เราต้องมี ได้แก่
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
กฎความปลอดภัย
ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่น เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ชื่อเพื่อนหรือผู้ปกครองไม่นัดแนะเพื่อพบปะกับบุคคลที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่บอกผู้ปกครองไม่ส่งรูปหรือข้อมูลส่วนตัวให้กับคนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตไม่ให้ความสนใจหรือตอบโต้กับคนที่ถ้อยคำหยาบคายไม่โหลดสิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือเปิดเอกสารจากอีเมล์ของคนที่เราไม่รู้จักหากพบข้อความหรือรูปภาพรุนแรง ให้รีบแจ้งผู้ปกครองหรือคุณครูเคารพในกฎระเบียบ นโยบาย หรือข้อตกลงที่ให้ไว้กับผู้ปกครองและคุณครูในการใช้อินเตอร์เน็ต
จากสถานการณ์ข้างต้น ถ้ามีหน้าต่างลักษณะนี้ปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของนักเรียน จะทำอย่างไร
จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1....
การใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงานในชั้นเรียน
ในชั้นเรียนมีกิจกรรมที่นักเรียนจะต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการทำงาน ดังนี้
1. การพิมพ์เอกสาร
การพิมพ์เอกสาร เช่น รายงาน จดหมาย บทความ เป็นต้น นิยมใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด
โปรแกรมประมวลผลคำมีหลักการ คือ จำลองหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เป็นเหมือนแผ่นกระดาษ มีการกำหนดกั้นหน้า กั้นหลัง...
การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวม มาจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อนำเสนอข้อมูลจากบุคคลหนึ่ง (ผู้นำเสนอ) ไปยังอีกบุคคลหนึ่ง (ผู้ฟัง) ให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่นำเสนอ โดยใช้เทคนิคและสื่อต่าง ๆ ในการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการนำเสนอที่กำหนดไว้
จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
1. เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ
2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล คือ การนำข้อมูล ที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ เช่น การเปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การเรียงลำดับ
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล (Input)...
การรวบรวมข้อมูล
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวล
วิธีการรวบรวมข้อมูล
1. การสัมภาษณ์ อาจเป็นการสัมภาษณ์โดยตรงหรือผ่านช่องทางการสื่อสารอื่น เช่น โทรศัพท์ สื่อสังคมออนไลน์...
การสืบค้นข้อมูล
การค้นหาข้อมูลให้ได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และตรงตามความต้องการ จำเป็นต้องอาศัยทักษะและพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูล เช่น วิธีการใช้เครื่องมือช่วยค้นแต่ละชนิด การใช้คำหรือวลี (keyword) ให้สอดคล้องกับเรื่องที่กำลังค้นหา การเลือกรูปแบบการค้นให้เหมาะสม การใช้คำเชื่อม เพื่อกำหนดขอบเขตการค้นให้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้ผลการค้นหรือรายการข้อมูล ที่ถูกต้องตรงตามความต้องการมากที่สุด
Keyword (คีย์เวิร์ด) คือคำค้นหา หรือคำอธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่งสั้นๆ ที่กล่าวถึงสิ่งที่เรากำลังตามหาเพื่อสืบค้นรายละเอียดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตบนเว็บ Search Engine
เสิร์ชเอนจิน (Search engine)...
การใช้งานอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกันทั่วโลก ในอินเทอร์เน็ตมีความรู้อยู่มากมายสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ความรู้ในอินเทอร์เน็ตจะอยู่บนเว็บไซต์ (web site) ต่าง ๆ ที่อยู่เว็บไซต์ คือ ยูอาร์แอล (Universal Resource Locator : URL) หรือเว็บแอดเดรส (web address) เช่น https://www.kru-it.com
เว็บเบราว์เซอร์ เป็นโปรแกรมสำหรับเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถแปลงภาษาของคอมพิวเตอร์ (HTML)...
การตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมที่มีเงื่อนไขซ้อนกัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้ ซึ่งโปรแกรมที่มีเงื่อนไขจำทำตามลำดับคำสั่งที่แตกต่างกันและได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้โปรแกรมทำงงานได้อย่างถูกต้อง ต้องตรวจสอบว่ามีเงื่อนไขใดบ้าง แล้วเขียนโปรแกรมให้ครอบคลุมทุกเงื่อนไข หากผลลัพธ์ของโปรแกรมไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เพื่อหาข้อผิดพลาดและแก้ไขโปรแกรมให้ถูกต้อง
สถานการณ์ตัวอย่าง
การทำกิจวัตรประจำวันของนักเรียนให้นักเรียนหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมการทำกิจวัตรประจำวันของนักเรียนคนนี้