การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

0
3376

“ข้อมูลมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ในแต่ละวันนักเรียนจะได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายสังคมจำนวนมากและรวดเร็ว ข้อมูลที่เผยแพร่นั้นมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นเท็จ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการนำผลงานของผู้อื่นไปใช้อย่างถูกต้อง การเลือกรับและส่งต่อข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ การรู้เท่าทันสื่อ จะทำให้การใช้ชีวิตในโลกไซเบอร์มีความปลอดภัย”


เหตุผลวิบัติ

เป็นการโต้แย้งโดยให้เหตุผลที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง หรือมีความจริงเพียงบางส่วน จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่มีความขัดแย้งกับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง เช่น การโต้แย้งบนเว็บบอร์ดหรือเครือข่ายทางสังคม ที่มีการใช้ข้อความประชดประชัน การใช้ความรู้สึกส่วนตัว การใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง (hate speech)

กระบวนการเหล่านี้ อาจนำไปสู่การสรุปผลหรือตีความข้อสรุปจากการโต้แย้งที่ไม่ได้นำข้อเท็จจริงมาพิจารณา ทำให้ผู้รับสารได้รับข่าวสารที่คลาดเคลื่อน อีกทั้งผู้คนบางส่วนพยายามใช้ความเข้าใจหรือความเชื่อส่วนตัวที่อาจะไม่ถูกต้องมาเป็นเหตุผลในการสรุปประเด็นต่างๆ แม้ผลสรุปสุดท้ายจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม

เหตุผลวิบัติจำแนกได้ 2 แบบ ดังนี้

1. เหตุผลวิบัติแบบเป็นทางการ เกิดจากการให้เหตุผลที่ใช้หลักตรรกะไม่ถูกต้อง แต่เขียนอยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการทำให้ดูสมเหตุสมผล เช่น การที่ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งหาเสียงว่าหากเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้ง จะมีการพัฒนาหมู่บ้าน สร้างความเจริญ แต่ในความจริง แม้ชนะการเลือกตั้ง ผู้ชนะการเลือกตั้งก็อาจได้พัฒนาหมู่บ้านก็ได้

2. เหตุผลวิบัติแบบไม่เป็นทางการ เกิดจากการให้เหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับหลักตรรกะในการพิจารณา แต่เป็นการสันนิษฐานหรือเล่นสำนวน ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาชักนำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การพูดกำกวม หรือการพูดมากเกินความจำเป็น

ตัวอย่าง :


การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง เช่น ใช้งานทั่วไป สนับสนุนการทำงาน ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (electronic transaction) โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน

1. การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างปลอดภัย

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวคนไทยมากขึ้น หลังรัฐบาลไทยได้ให้ธนาคารต่างๆ เปิดโครงการพร้อมเพย์ (prompt pay) เพื่อให้การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โอนเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการ ทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระมัดระวังและมีความรอบคอบ เช่น เลือกซื้อสินค้าออนไลน์จากผู้ขายที่มีไว้ใจได้ เพื่อป้องกันการฉ้อโกง สินค้าไม่มีคุณภาพ หรือได้รับสินค้าที่ตรงกับข้อมูลที่ปรากฏ

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มี 2 รูปแบบ คือ

1. การทำธุรกรรมโดยตรงระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ – ทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายทางสังคมหรือผ่านเว็บไซต์ของผู้ขาย เช่น การจองที่พักโรงแรม, ซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ผู้ผลิตโดยตรง

2. การทำธุรกรรมโดยผ่านผู้ให้บริการ – ทำธุรกรรมผ่านผู้ให้บริการสนับสนุนการดำเนินการหรือตัวกลาง โดยผู้ให้บริการจะรวบรวมสินค้าและบริการต่างๆ ให้อยู่ในที่เดียว เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงและใช้บริการทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ให้บริการ (ตัวกลาง) คอยตรวจสอบผู้ขายและรับประกันในส่วนของสินค้าและบริการ เช่น ebay.com, lazada.co.th, shopee.co.th


2. การรู้เท่าทันสื่อ

เป็นความสามารถในการป้องกันตนเองจากการถูกโน้มน้าวด้วยเนื้อหาที่เป็นเท็จและมีผลกระทบต่อผู้รับสื่อ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือทางการตลาดหรือผลประโยชน์ที่นำเสนอ การรู้เท่าทันสื่อ ผู้รับสารต้องสามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ คิดก่อนนำไปเผยแพร่

การรู้เท่าทันสื่อสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่

1. ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกและจัดสรรเวลาในการใช้สื่อ

2. เรียนรู้ทักษะการรับสื่อแบบวิพากษ์ วิเคราะห์และตั้งคำถามว่าสื่อนั้นถูกสร้างขึ้นอย่างไร น่าเชื่อถือหรือไม่

3. วิเคราะห์สื่อในเชิงสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์


3. ข่าวลวงและผลกระทบ

ข่าวลวง (fake news) เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อกวน ซึ่งนำเสนอเรื่องราวเป็นเท็จ มีวัตถุประสงค์แอบแฝงที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อขายสินค้า ทำให้เข้าใจผิด สร้างความสับสน โดยข่าวลวงอาจแพร่ผ่านอีเมล์ หรือเครือข่ายทางสังคม ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง

ลักษณะของข่าวลวง เช่น

  • สร้างเรื่องราวเพื่อให้เป็นจุดสนใจของสังคม
  • สร้างความหวาดกลัว
  • กระตุ้นความโลภ
  • สร้างความเกลียดชัง
  • ส่งต่อกันมาผ่านเครือข่ายสังคม
  • ไม่ระบุแหล่งที่มา
  • ขยายความต่อจากอคติของคนทั่วไปที่มีอยู่ก่อนแล้ว เพื่อหวังให้ตนเองได้รับผลประโยชน์ หรือใช้เพื่อโจมตีคู่แข่ง

ดังนั้นผู้รับข่าวสารต้องมีวิจารณญาณเพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและสังคม


อ้างอิง :

            สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 หน้า 121

            tanwa1991, “Security System For Trading การสร้างระบบรักษาความปลอดภัยในการเทรด”, https://ctc.in.th สืบค้นวันที่ 27 พ.ย. 2563