การเขียนโปรแกรมโดยใช้ Scratch

0
3156

การเขียนโปรแกรมโดยใช้ Scratch

          โปรแกรม Scratch (อ่านว่า สะ – แครช) เป็นโปรแกรมภาษา ที่ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้อย่างง่าย เช่น นิทานที่สามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ ภาพเคลื่อนไหว เกม ดนตรี และศิลปะ และเมื่อสร้างเป็นชิ้นงานเสร็จแล้ว สามารถนำชิ้นงานที่สร้างสรรค์นี้ แสดง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นบนเว็บไซต์ได้ ทำ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการทางคณิตศาสตร์ และแนวคิดการโปรแกรมไปพร้อมๆ กับการคิดอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล เป็นระบบ และเกิดการทำงานร่วมกัน

ตัวอย่างเกม ที่สร้างจาก โปรแกรม Scratch
>> เกมที่1
>> เกมที่2

วิธีการเข้าใช้งานโปรแกรม Scratch

การเข้าใช้งานโปรแกรม Scratch แบบออนไลน์ (Online)
1. เข้าใช้งานที่ลิงค์ https://scratch.mit.edu/
2. คลิกเลือก Start Creating  เพื่อเข้าสู่หน้าโปรแกรม

การเข้าใช้งานโปรแกรม Scratch แบบออฟไลน์ (Offline)
1. เข้าใช้งานที่ลิงค์ https://scratch.mit.edu/download
2. เลือกระบบปฏิบัติการที่คอมพิวเตอร์ใช้งานอยู่


3. เปิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดเพื่อทำการติดตั้ง โปรแกรมจะทำการติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์

4. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว โปรแกรมจะถูกเปิดขึ้นมา จากนั้นจะแสดงหน้าจอ ให้กดปุ่ม No, thanks

5. โปรแกรม Scratch พร้อมใช้งาน และไอคอนโปรแกรมก็จะแสดงอยู่บนหน้าจอเพื่อเข้าใช้งานในครั้งถัดไป


1. ส่วนประกอบของโปรแกรม Scratch

1. แถบเมนู (Menu bar)
2. แถบเครื่องมือ (tabs)
3. บล็อกคำสั่ง (Block Palette)
4. ส่วนขยาย (Extension)
5. พื้นที่ทำงาน (Script Area)
6. ย่อ ขยาย กึ่งกลางพื้นที่วางบล็อกคำสั่ง
7. เริ่มต้น สิ้นสุด (Start-Stop)
8. การแสดงผล (Screen Control)
9. เวที (Stage)
10. รายละเอียดตัวละคร (Sprites list)
11. รายละเอียดเวที (Stage information)

2. รู้จักโปรเจกต์
โปรเจกต์ใน Scratch มีโครงสร้าง 3 ส่วนประกอบด้วย


2.1 เวที (Stage)
          เวที คือ ส่วนที่แสดงผลของโปรแกรมเปรียบเสมือนฉากที่แสดงสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำการป้อนคำสั่งหรือแก้ไขโปรแกรม Scratch จะลดขนาดพื้นหลังนั้นอัตโนมัติเพื่อให้พอดีกับขนาดของเวที (ซึ่งมีขนาดกว้าง 480 หน่วย สูง 360 หน่วย)


2.2 ตัวละคร (Sprite)
         
ตัวละคร คือ วัตถุที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้แสดงบทบาทต่าง ๆ บนเวที เช่น ถ้าเราสร้างโปรแกรมเกมปลาใหญ่กินปลาเล็ก ตัวละครในที่นี้ก็คือ ปลาใหญ่และปลาเล็กนั่นเอง ซึ่งในโปรแกรมหนึ่งจะมีตัวละครตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้
          ตัวละครจะประกอบด้วยคุณสมบัติ 2 ประการ คือ คุณลักษณะ และพฤติกรรม
          – คุณลักษณะ คือ สิ่งที่บ่งบอกลักษณะทั่วไปของวัตถุเช่นชื่อตัวละครเครื่องแต่งกายของตัวละครท่าทางของตัวละครเป็นต้น
          – พฤติกรรม คือ สิ่งที่วัตถุสามารถกระท าออกมาได้เช่นวิ่งเดินหน้าถอยหลังเป็นต้น


การกำหนดรายละเอียดให้กับตัวละคร

          เราสามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ให้กับตัวละครได้ เช่น ชื่อตัวละคร ตำแหน่งการแสดงผลของตัวละคร ได้ดังนี้


หมายเลข 1 คือ ชื่อของตัวละคร ซึ่งเราสามารถแก้ไขชื่อของตัวละครได้ ตัวอย่างเช่น เริ่มต้นตัวละครชื่อ Sprite1
หมายเลข 2 x: 0 y: 0 คือ ตำแหน่งการแสดงผลของตัวละคร โดยเริ่มต้นตัวละครจะแสดงผลที่ตำแหน่ง (0,0) ซึ่งก็คือตำแหน่งกลางเวทีนั่นเอง


หมายเลข 3 คือ การกำหนดว่าจะให้ตัวละครนั้น ๆ แสดงผลบนเวทีหรือไม่
หมายเลข 4 คือ การกำหนดขนาดให้ตัวละคร
หมายเลข 5 คือ การกำหนดทิศทางการหมุนตัวละครไปในทิศทางต่าง ๆ


2.3 สคริปต์ (Script)          
          สคริปต์คือชุดคำสั่งสำหรับตัวละครหรือเวที เพื่อสั่งให้ตัวละครหรือเวทีท างานตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการโดยการเลือกสคริปต์จากกลุ่มบล็อก ซึ่งแบ่งเป็น 9 กลุ่มดังนี้