การแก้ปัญหา คือ การจัดการกับข้อสงสัย อุปสรรค หรือข้อขัดข้องที่พบด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การลองผิดลองถูก การใช้เหตุผล เครื่องมือฝึกแก้ปัญหาอย่างง่าย คือ เกมต่าง ๆ ดังตัวอย่าง
1. บอร์ดเกม หรือ เกมกระดาน
คือ เกมประเภทหนึ่งที่ใช้หมาก โมเดล หรือเม็ดนับจำนวน นำมาเล่นบนกระดานที่ออกแบบมาเพื่อเล่นเกมนั้น ๆ ซึ่งบอร์ดเกมก็มีหลายรูปแบบให้เลือกเล่นกันตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็น เกมครอบครัว เป็นเกมสั้นๆ ง่ายๆ เกมวางแผน เป็นเกมที่มีความท้าทาย ต้องใช้ทักษะการวางแผน จากากรจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ เกมปาร์ตี้ เป็นเกมที่เข้าใจง่ายเล่นได้เป็นหมู่คณะ ซึ่งต้องในมนุษย์สัมพันธ์และไหวพริบ เกมแก้ปัญหา เป็นเกมที่ต้องแข่งขันกันแก้ปัญหา ต้องคิดวางแผน
ประโยชน์จากบอร์ดเกม หรือ เกมกระดาน
1. รู้จักรอคอย
2. ฝึกการคิดคำนวณและความน่าจะเป็น
3. ลับสมองและฝึกความคิดสร้างสรรค์
4. รู้จักการางแผนและเรียงลำดับความสำคัญ
5. ฝึกการตัดสินใจและทำงานเป็นทีม
ตัวอย่างบอร์ดเกม หรือ เกมกระดาน
กิจกรรมฝึกทักษะ
ให้นักเรียนฝึกเล่นเกมซูโดกุจาก https://sudoku.com/th
2. การแก้ปัญหาที่เกิดในชีวิตประจำวัน
ไม่ว่าเราจะทำงานใดก็ตาม ปัญหาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การแก้ปัญหามีหลายวิธี ขึ้นกับชนิดของาน วิธีการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งอาจแก้ปัญหาอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ และการแก้ปัญหาอาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น จึงควรยึดหลักการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้เสียเวลา หลงทาง และสับสน วิธีการแก้ปัญหาแต่ละวิธีมีความเหมาะสมกับงานแตกต่างกันไป โดยปกติมนุษย์มีกระบวนในการแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา การทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร โดยมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ดังนี้
2. การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่ และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่ 1 แล้วคาดคะเนวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา
3. การดำเนินการแก้ปัญหา ลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้
4. การตรวจสอบและปรับปรุง ตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา และปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
สถานการณ์ตัวอย่างที่ 1 : การต้มบะหมี่น้ำโดยใช้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
1) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
1.1 การระบุข้อมูลเข้า คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
1.2 การระบุข้อมูลออก คือ บะหมี่น้ำ
1.3 การประมวลผล คือ การต้ม
2) การวางแผนในการแก้ปัญหา
1) เริ่มต้น
2) ต้มน้ำให้เดือด
3) ใส่บะหมี่ลงในน้ำเดือด
4) รอ 3 นาที
5) ใส่เครื่องปรุงแล้วยกหม้อลงจากเตา
6) จบ
3) การดำเนินการแก้ปัญหาตามแนวทางที่วางไว้
ปฏิบัติตามขั้นตอนในข้อ 2
4) การตรวจสอบ
บะหมี่น้ำที่ต้มสุก
สถานการณ์ตัวอย่างที่ 2 : การวางแผนไปโรงเรียน
1) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
1.1 การระบุข้อมูลเข้า คือ การตื่นนอ
1.2 การระบุข้อมูลออก คือ ไปถึงโรงเรียน
1.3 การประมวลผล คือ การเดินทาง
2) การวางแผนในการแก้ปัญหา
1) เริ่มต้น
2) ตื่นนอน
3) อาบน้ำและแต่งตัว
4) ไปโรงเรียน
5) จบ
3) การดำเนินการแก้ปัญหาตามแนวทางที่วางไว้
ปฏิบัติตามขั้นตอนในข้อ 2
4) การตรวจสอบ
ตรวจสอบว่าถึงโรงเรียนหรือยัง
กิจกรรมฝึกทักษะ
ให้นักเรียนวางแผนการจัดหนังสือใส่กระเป๋าของนักเรียน
3. โปรแกรมที่มีการตอบโต้
รู้จักกับ Code.org เป็นเว็บไซต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการสอนการเขียนโปรแกรมให้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งทางผู้พัฒนาได้มีการออกแบบหลักสูตรการสอนไว้แล้ว และทำเป็นเกมส์ให้เด็ก ๆ เล่นไปในระหว่างการเรียน ทำให้เด็ก ๆ มีความสนุกและเกิดความสนใจในระหว่างการเรียนรู้ด้านการเขียนโปรแกรมนี้
กิจกรรมฝึกทักษะ
ให้นักเรียนทำกิจกรรมในเว็บไซต์ Cde.org คอร์ส 4 บทเรียนที่ 7. Play Lab: Variables ข้อที่ 6 https://studio.code.org/s/course4/stage/7/puzzle/6
อ้างอิง
นายฤทธินันต์ โสมาสุข “การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/khruthim/kar-kae-payha-dwy-krabwnkar-thang-thekhnoloyi-sarsnthes สืบค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562
Kittipong Khamdee “การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ” จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/comsurintk/bth-reiyn/karkaepayhadwykrabwnkarthekhn oloyisarsnthes สืบค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562