David Kelly ได้นำแนวคิดการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในธุรกิจ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แบ่งกระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Empathize) คือ การทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ใช้ กลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะใช้ และกลุ่มที่คาดว่าจะไม่ใช้ ทั้งเรื่องของปัญหา ความต้องการ ความรู้สึก โดยวิธีการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง สามารถทำได้ดังนี้
1.1 การสังเกตสิ่งรอบตัวของผู้ใช้
1.2 การสัมภาษณ์
2. ระบุปัญหาและกรอบของปัญหา (Define) คือ การระบุปัญหา หรือประเด็นหลังจากที่ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายด้วยกระบวนการข้างต้น จากนั้นจะนำข้อมูลของผู้ใช้มาจัดกลุ่มของปัญหา และระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน
3. การหาแนวทางแก้ไข (Ideate) คือ ขั้นตอนการค้นหาความคิดใหม่ๆที่จะสามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานได้มากที่สุดโดยวิธีการระดมสมองของคนในทีม
หลักการระดมสมอง
1) ต้องกำหนดเวลาในการระดมสมอง
2) คนในกลุ่มสามารถเสนอไอเดียได้อย่างอิสระ
3) จัดกลุ่มของไอเดีย
4) คัดเลือกไอเดีย
5) นำไอเดียมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งว่ามีอะไรควรเพิ่มเติมอีกหรือไม่
4. การสร้างต้นแบบ (Prototype) คือ สร้างแบบจำลองเพื่อใช้สื่อสารกับผู้ใช้ว่าไอเดียที่คิดค้นขึ้นสามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานได้หรือไม่ โดยทำการทดสอบความพึงพอใจเพื่อให้ทีมออกแบบสามารถรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ก่อนจะไปสู่ขั้นตอนการสร้างผลิตภัณฑ์ การสร้างต้นแบบ อาทิ แบบจำลอง 3 มิติ การสื่อสารด้วยภาพบนกระดาษ การแสดงละครจำลองสถานการณ์ การสร้างสตอรี่บอร์ด
5. การทดสอบ (Test) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่จะช่วยสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พัฒนาขึ้นจะสามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานได้ตามที่ตั้งไว้
ถอดความคิดเชิงออกแบบของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
การแก้ปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ดี ไม่ได้เริ่มจากการคิดและค้นคว้าในห้องวิจัย แต่เริ่มต้นจากการสัมผัสประสบการณ์ด้วยการลงพื้นที่ เหมือนดั่งการสร้างโครงการพระราชดำริฝนหลวง ซึ่งมีขั้นตอนการคิดเชิงออกแบบ ดังนี้