คือ การแก้ไขปัญหาโดยการนำกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขมาใช้พิจารณา โดยจะใช้เหตุผลหรือใช้ประสบการณ์ มาอธิบายวิธีการแก้ไขปัญหาโดยคาดหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่คาดการณ์ไว้
ทำไมต้องคิดแก้ปัญหาอย่างมีตรรกะ
- เพราะทำให้เกิดโอกาสผิดพลาดน้อย
- เพราะเมื่อเกิดความเคยชินกับการคิดอย่างมีตรรกะ จะทำให้ไม่เชื่อเรื่องอะไรง่ายๆ
- เพราะจะทำให้ความคิดที่นำเสนอได้รับการยอมรับจากผู้อื่นมากขึ้น เนื่องจากฟังดูแล้วมีเหตุมีผลเหมาะสม

สถานการณ์ตัวอย่าง
ร้านนมแห่งหนึ่ง มีโปรโมชั่นพิเศษ นักเรียนสามารถนำขวดนมเปล่า 3 ขวดมาแลกนมขวดใหม่ไปดื่มได้ 1 ขวดทันที ถ้านักเรียนมีเงินจำนวนจำกัดสามารถซื้อนมได้เพียง 9 ขวดเท่านั้น ถามว่านักเรียนจะได้ดื่มนมทั้งหมดกี่ขวด (รวมที่นำไปแลกฟรีด้วย)

ดังนั้น
นักเรียนจะได้ดื่มนมทั้งหมด ….. ขวด โดยจำนวนขวดทั้งหมด มาจากการซื้อ…..ขวด แลกฟรี…..ขวด
สรุปได้ว่า
นักเรียนซื้อนม…..ขวด และนักเรียนแลกนมฟรี……ขวด เพราะฉะนั้นนักเรียนได้ดื่มนมทั้งหมด…….ขวด
อ้างอิง
ขั้นตอนการคิดและ การแก้ปัญหาเชิงตรรกะ (Logical thinking and problem solving) คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
Comments are closed.