เรียนรู้แหล่งข้อมูล

0
431

1. แหล่งข้อมูล

          แหล่งข้อมูล หมายถึง ต้นกำเนิดหรือที่มาของข้อมูลต่าง ๆ เช่น หนังสือ อินเทอร์เน็ต บุคคล และอาจรวมไปถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่สามารถให้ข้อมูลแก่เราได้ เช่น พิพิธภัณฑ์ แหล่งท่องเที่ยวเป็นต้น

          แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เราสามารถรับทราบข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

          แหล่งข้อมูลปฐมภูมิหมายถึง แหล่งข้อมูลที่ให้ข้อมูลแก่เราโดยตรง อาจเกิดจากการที่เราพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง แล้วจดบันทึกข้อมูลไว้หรือสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ หรือการสังเกตจากแหล่งข้อมูล รวมไปถึงการสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เช่น ถ้าเราต้องการทราบจำนวนนักเรียนชั้น ป.1 ที่ว่ายน้ำเป็น เราก็อาจหาข้อมูลโดยการสัมภาษณ์นักเรียนที่อยู่ชั้น ป.1 หรือการให้ตอบแบบสอบถาม เป็นต้น แล้วจึงนำข้อมูลมาประมวลผล จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ และจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ

1.2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ

          แหล่งข้อมูลทุติยภูมิหมายถึง แหล่งข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องสอบถามหรือสังเกตจากแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง เช่น ข้อมูลจากหนังสือ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

2. การรวบรวมข้อมูล

     การรวบรวมข้อมูลเราสามารถรวบรวมข้อมูลได้หลายวิธีดังนี้

          2.1  การรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม  วิธีนี้ผู้รวบรวมอาจใช้วิธีสอบถามหรือสัมภาษณ์จากผู้รู้ ที่เป็นแหล่งข้อมูลที่ต้องการ หรือจะสอบถามโดยการใช้แบบสอบถามก็ได้

          2.2 การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ  วิธีนี้ผู้รวบรวมสามารถหาเอกสารที่เป้นแหล่งข้อมูลได้มากมาย เช่น หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์

          2.3 การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์  วิธีนี้ผู้รวบรวมข้อมูล่จะต้องเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น นักข่าวไปเฝ้าการชุมนุมประท้วง นักวิทยาศาสตร์สัเกตผลการทดลองวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

3. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี

     1. ข้อมูลมีความถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

     2. ข้อมูลเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ ข้อมูลมีแหล่งข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้

     3. ข้อมูลที่ความสมบูรณ์ สามารถตรวจสอบ และสามารถอ้างอิงได้

     4. ข้อมูลมีความชัดเจนกะทัดรัด

     5. ข้อมูลมีความสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน



อ้างอิง
สืบค้นข้อมูลจากเว็บไวต์ https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/944