ในปัจจุบัน การดำเนินชีวิตต้องมีการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา โดยมีระบบการทำงานที่ซับซ้อนอยู่เบื้องหลัง เช่น สมาร์ทโฟนที่ทำหน้าที่หลังในการสื่อสารและมีโปรแกรมสำหรับสื่อสารอยู่เบื้องหลัง ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ ล้วนอาศัยการเขียนโปแรกรมเพื่อแก้ปัญหาทั้งสิ้น
ขั้นตอนการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัญหาบางปัญหาสามารถคิดหาคำตอบได้ทันที แต่ในบางปัญหาอาจต้องใช้เวลานานในการค้นหาคำตอบ ซึ่งคำตอบที่ได้ต้องสามารถพิสูจน์ได้เป็นเป็นคำตอบที่ดีที่สุด น่าเชื่อถือ และสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ การแก้ปัญหา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
1. วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียด เงื่อนไข ข้อกำหนด รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ของปัญหา วิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ใดมีความจำเป็นในการแก้ปัญหา
2. วางแผนการแก้ปัญหา เป็นการคิดค้นกระบวนการต่างๆ ที่เป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ของผู้แก้ปัญหา โดยอาจนำวิธีที่เคยแก้ปัญหา หรือค้นหาวิธีการอื่นแล้วนำมาประยุกต์เข้ากับปัญหาที่กำลังแก้ไข เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาสำหรับการพัฒนาโปรแกรม อาจเลือกใช้รหัสลำลอง หรือผังงาน โดยวิธีการแก้ปัญหาแบบนี้ เราเรียนกว่า “ขั้นตอนวิธีหรืออัลกอริทึม (algorithm)”
3. ดำเนินการแก้ปัญหา เป็นการพัฒนาโปรแกรมตามอัลกอริทึมที่ได้วางไว้ โดยอาจใช้ภาษาโปรแกรมช่วยในการดำเนินการ
4. ตรวจสอบปละประเมินผล ขั้นตอนนี้ควรทำควบคู่ไปกับขั้นตอนดำเนินการแก้ปัญหา โดยตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ หากผลลัพธ์ที่ได้ไม่ถูกต้อง หรือยังมีส่วนที่ต้องแก้ไข ต้องย้อนกลับไปทำซ้ำตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
ตัวอย่าง
สถานการณ์ : ต้องการหาค่ามากที่สุดของจำนวนสามจำนวนดังนี้
ขั้นตอนการแก้ปัญหา :
1. วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
ข้อมูลเข้า : จำนวน 3 จำนวนคือ30 5 และ 25
ข้อมูลออก : ตัวเลขที่มีค่ามากที่สุด
วิธีตรวจสอบความถูกต้อง : ดำเนินการหาตัวเลขที่มีค่ามากที่สุดตัวตนเอง
2. วางแผนการแก้ปัญหา
– เปรียบเทียบจำนวนที่หนึ่งกับจำนวนที่สอง เพื่อหาค่ามากกว่าระหว่างสองจำนวน
– นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับค่าที่สาม เพื่อหาค่าที่มากกว่า
– ค่าที่มากที่สุดคือ ผลลัพธ์จากขั้นตอนก่อนหน้า
3. ดำเนินการแก้ปัญหา
ดำเนินการทดสอบตามขั้นตอนที่วางไว้ โดย
– เปรียบเทียบจำนวนที่หนึ่งคือ 30 กับจำนวนที่สองคือ 5 พบว่า 30 มากที่สุด
– นำค่าที่ได้คือ 30 มาเปรียบเทียบกับค่าที่สามคือ 25 พบว่า 30 มากที่สุด
– ค่าที่มากที่สุดคือ 30
4. ตรวจสอบปละประเมินผล
เมื่อพิจารณาคำตอบแล้ว ผลที่ได้คือ 30 มีค่ามากที่สุด
กิจกรรม
ให้นักเรียนแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา หาค่าส่วนสูงที่มากที่สุดของนักเรียนชายชั้น ม.1