เมื่อรู้จักกับปัญหาและความต้องการแล้ว สิ่งต่อไปคือการคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยกระบวนการในการออกแบบการแก้ปัญหานั้น จะต้องถ่ายทอดความคิดและความเข้าใจไปสู่การนำไปปฏิบัติได้ การถ่ายทอดความคิดจะต้องมีจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด และมีลำดับก่อนหลังที่ชัดเจน อาจอยู่ในรูปของข้อความเรียงกันเป็นลำดับ ซึ่งเราเรียกว่า “รหัสลำลอง (pseudocode)” หรืออาจจะอยู่ในรูปของ “ผังงาน (flowchart)” ที่ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ ข้อความ และเส้นเชื่อมโยง
รหัสลำลอง (pseudocode)
การเขียนรหัสลำลองเป็นการใช้คำบรรยายอธิบายขั้นตอนอย่างชัดเจนในการแก้ปัญหา หรือการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ถ้อยคำหรือประโยคคำสั่งที่เขียนอยู่ในรูปแบบของภาษาที่เข้าใจง่าย เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่ออธิบายรายละเอียดของอัลกอริทึม
ตัวอย่าง
สถานการณ์ : เขียนรหัสลำลองการคำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม
เขียนรหัสลำลอง :
เริ่ม
1. รับค่าความกว้างของฐาน
2. รับค่าความสูง
3. คำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมจากสูตร ½ x ความกว้างของฐาน x ความสูง
จบ
ผังงาน (Flowchart)
ผังงาน คือ แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม เป็นเครื่องมือที่ใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิด เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและใช้วางแผนการทำงานขั้นแรก โดยสัญลักษณ์ Flowchart แสดงถึงการทำงานลักษณะต่างๆ เชื่อมต่อกัน
ตัวอย่าง
สถานการณ์ : เขียนผังงานการคำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม
เขียนผังงาน :
การกำหนดค่าให้ตัวแปร
การกำหนดค่าให้กับตัวแปรสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
1. รับค่าจากภายนอก
2. กำหนดค่าจากค่าคงที่
3. กำหนดค่าจากการคำนวณ
สัญลักษณ์ที่นิยมใช้สำหรับกำหนดค่าให้กับตัวแปรคือ ลูกศร ใช้เพื่อนำค่าทางขวาของ ลูกศร ไปกำหนดให้กับตัวแปรทางด้านซ้ายของ ลูกศร
ตัวอย่าง
สถานการณ์ : เขียนรหัสลำลองการคำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม
เขียนรหัสลำลอง :
เขียนผังงาน :
กิจกรรม
ให้นักเรียนเขียนผังงานเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ดังนี้ นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมินิมาลาทอนกีฬาสีของโรงเรียน ซึ่งหากวิ่งไม่ครบ 5 กิโลเมตรจะไม่หยุดวิ่ง