เรียนรู้ข้อมูล

0
432

1. เรียนรู้ข้อมูล

ความหมายของข้อมูล

ข้อมูล หมายถึง เรื่องราว ข้อเท็จจริง หรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งเราสามารถรับรู้ได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลไปใช้ในชีวิตประจำวัน ชีวิตประจำวันของคนเราเกี่ยวข้องกับข้อมูลตลอดเวลา เช่น เมื่อตื่นนอนตอนเช้าเราจะได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกหรือเสียงต่าง ๆ เมื่อรับประทานอาหารก็จะได้รับรสชาติของอาหาร ขณะเดินทางไปโรงเรียนก็จะเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เช่น ป้ายประกาศ รถ คน และได้กลิ่นควันจากรถ หรือขณะอ่านหนังสือพิมพ์ก็ได้รับข้อมูลตัวอักษรและภาพจากการอ่าน เป็นต้น โดยสามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง

2. ประเภทของข้อมูล

ข้อมูลที่อยู่รอบตัวเรา สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้

2.1 ข้อมูลตัวอักษร (ข้อมูลตัวอักขระ)

          ข้อมูลตัวอักษร หมายถึง ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศ เช่น ชื่อ – นามสกุล ประวัติโรงเรียน เป็นต้น และข้อความที่เป็นตัวเลข ซึ่งไม่นำไปใช้ในการคำนวณ เช่น ป้ายทะเบียนรถ บ้านเลขที่ เลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น

2.2 ข้อมูลภาพ

          ข้อมูลภาพ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นภาพในลักษณะต่าง ๆ ที่เรามองเห็น ซึ่งอาจจะเป็นภาพนิ่ง เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย เป็นต้น หรือภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพจากโทรทัศน์ ภาพจากวีดิทัศน์ ภาพจากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2.3 ข้อมูลตัวเลข

          ข้อมูลตัวเลข หมายถึง ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลข ๐-๙ หรือ 0-9 ที่เราสามารถนำมาใช้คำนวณได้ หรือนำมาประมวลผลได้ เช่น ราคาสินค้า คะแนนสอบวิชาต่าง ๆ จำนวนเงิน เป็นต้น

2.4 ข้อมูลเสียง

          ข้อมูลเสียง หมายถึง ข้อมูลที่เกิดจากการได้ยิน เช่น เสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือเสียงจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถแสดงข้อมูลในรูปแบบเสียงได้ เช่น แผ่นซีดี โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น

5. ข้อมูลอื่นๆ

          ข้อมูลอื่น ๆ หมายถึง ข้อมูลที่นอกเหนือจากข้อมูลทั้ง 4 ประเภท ที่กล่าวมาแล้ว เช่น ข้อมูลกลิ่น ข้อมูลรสชาติ ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ เป็นต้น

3. ประโยชน์ของข้อมูล

          ข้อมูลต่าง ๆ ที่เรารับรู้สามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ดังนี้

          1. ด้านการตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหา
การทราบข้อมูลต่างๆ ท าให้ตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม เช่น การเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูก หรือการปรับปรุงตนเองเมื่อทราบผลสอบ เป็นต้น

          2. ด้านการติดต่อสื่อสาร
เมื่อเราอยู่ในสังคม เราย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งการติดต่อสื่อสารด้วยวิธีการต่าง ๆ จะทำให้เรากับผู้อื่นเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ตรงกัน


          3. ด้านการเรียนหรือการทำงาน
การศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาตนเองให้ฉลาดรอบรู้ทำให้สามารถเรียนหนังสือหรือทำงานต่างๆ ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          4. ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม
การศึกษาข้อมูลในด้านชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น สามารถนำมาพัฒนาชุมชนและสังคมได้ เช่น มีข้อมูลเรื่องจำนวนเด็กเล็กในชุมชนเพิ่มมากขึ้น จึงสร้างศูนย์ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อดูแลเด็ก ๆ แทนพ่อแม่ เป็นต้น